๒๐ มกราคม ๒๕๕๑

วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ


หน้าที่
หน้าที่หลักของทหาร นอกจากพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ และยึดมั่นเทิดทูนจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างมั่นคงแล้ว ทหารยังต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศชาติ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคง และก่อให้เกิดสันติภาพ อย่างถาวรในพื้นที่รับผิดชอบ เพราะชาติบ้านเมืองจะมีความสงบเรียบร้อยขึ้นมาได้ ประชาชนนับว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

"โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง" หรือ "อพป." จึงถูกจัดตั้งขึ้นมาในยุคสมัยที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ก่อการร้าย โดยมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้ง ในการประสานงานอำนวยการกำกับดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ในยุคสมัยแรกมีการจัดตั้งโครงการ อพป.ขึ้นมา เพราะเหตุที่มีการแพร่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ทุรกันดารห่างไกล ราษฎรไม่สามารถช่วยตนเองให้รอดพ้นจากภัยดังกล่าวได้ จึงง่ายต่อการแทรกซึมบ่อนทำลายเพราะการเข้าไปบริการ ดูแลแก้ไขปัญปัญของภาครัฐยังขาดประสิทธิภาพ

โครงการ อพป.
จึงเกิดขึ้น เพื่อให้การพัฒนาต่าง ๆ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ปรับปรุงกองกำลังของประชาชนให้มี ประสิทธิภาพ เร่งเร้าจิตสำนึกของราษฎรในพื้นที่ที่ถูกแทรกแซง เพื่อให้เกิดความเคลื่นไหวในการพัฒนาหมู่บ้านและป้องกันตนเอง รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านถาวรขึ้นมารับผิดชอบ โดย ครม.ได้รับอนุมัติหลักการให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2517 กำหนดให้เป็นโครงการระดับนานาชาติ และถือเป็นความเร่งด่วนสูงสุดที่ส่วนราชการทุกระดับจะต้องให้ความร่วมมือสนับสนุน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม การปกครองและการรักษาความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล โดยมีหน่วยงานหลักที่ร่วมเข้าไปรับผิดชอบดำเนินการ 8 กระทรวงหลักคือกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีกฎหมายรองรับคือ พ.ร.บ. การจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาตาม พ.ร.บ.

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ โครงการ อพป. ได้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการทำให้สถานการณ์บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติ มีความสุข ความปลอดภัย เป็นที่อบอุ่นไปทั่วทุกแห่งหนไม่ว่าชนบทใกล้-ไกล เพราะราษฎรเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการให้ความร่วมมืออย่างเต็มภาคภูมิ

ปัจจุบันหมู่บ้าน อพป. ที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศ มีจำนวนร่วม 2 หมื่นหมู่บ้าน ใน 59 จังหวัด สำหรับในพื้นที่ภาคอีสาน มีจำนวน 3,928 หมู่บ้าน การดำเนินงานของแต่ ละภาคทั้ง 4 ภาค มีศูนย์อาสาพัฒนาและป้องกันตนเองของ กอ.รมน. แต่ละภาคเป็นหน่วยรับผิดชอบ มีภารกิจในการวางแผนอำนวยการ ประสานงานและกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ อพป.ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น: