๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

วันสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์

วันตรุษจีน"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้
ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ"

ปีใหม่ขอให้ทุกอย่างสมหวัง ปีใหม่ขอให้ร่ำรวย

ตรุษจีน คำอวยพรที่ใช้กันมาก
?ซิน เจีย ยู่ อี่ ซิน นี้ ฮวด ไช้?
คำอวยชัยให้พร ให้โชคดีปีใหม่
ซิน หรือ ซิง แปลว่า ใหม่
เจีย แปลว่า เวลา
ยู่อี่ แปลว่า สมใจ สมปรารถนา
นี้ แปลว่า ปี
ฮวดใช้ แปลว่า โชคดี
?ซินเจียยู่อี่ สี่ขุ่ยเฮงล้ง?
เวลาใหม่ให้สมใจ สี่ฤดูให้อยู่สบายโชคดี



เทศกาลจีนมีอยู่มากมาย ตรุษจีนเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน เช่นเดียวกับสงกรานต์วันปีใหม่ไทย ทุกคนต่างให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่างหยุดงาน โรงเรียนสถาบันการศึกษาต่างปิดเทอมในช่วงนี้ เป็นปิดเรียนฤดูหนาว ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่ไม่สามารถหยุดงานได้ หน่วยงานห้างร้านต่างก็หยุดงาน 3-4 วัน เมื่อใกล้วันปีใหม่จีน ผู้คนต่างก็มีการตระเตรียมงานปีใหม่ ภายในครอบครัว ทุกบ้านก็จะทำความสะอาดบ้านเรือน ผ่านปีใหม่อย่างสะอาดสะอ้านสดใส ร้านค้าห้างสรรพสินค้าต่างก็เติมไปด้วยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้แก่เด็กๆ ซื้อของขวัญให้แก่ญาติสนิทมิตรสหาย ซื้อบัตรอวยพร ในตลาดก็คราคร่ำไปด้วยผู้คน ต่างเดินไปเดินมากันขวักไขว่ ซื้อปลาบ้าง ซื้อเนื้อสัตว์บ้าง ซื้อเป็ดไก่บ้าง ทุกคนต่างดูแจ่มใสมีความสุข ช่วงเทศกาลปีใหม่ เด็กๆต่างมีความสุขมาก ต่างสวมเสื้อใหม่ ทานลูกกวาดขนมหวาน เล่นพลุประทัดอย่างรื่นเริง

ตรุษจีน คือ วันขึ้นปีใหม่ของชาวจีน
สมัยโบราณในยุคราชวงศ์ต่างๆ นับช่วงพ้นปีเก่าเข้าปีใหม่แตกต่างกันไป กระทั่งปี 105 B.C. ฮั่นอู่ตี้ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ฮั่นปรับเปลี่ยนระบบปฏิทินใหม่ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เรียกว่า ปฏิทินไท่ชูลี่ ปฏิทินไท่ชูลี่ ปรับปรุงขึ้นจากระบบปฏิทินของราชวงศ์เซี่ย (21-16 ศตวรรษ B.C.) ถือเอาวันแรกของปักษ์ลี่ชุน เป็นวันขึ้นปีใหม่

ชาวจีนนับเอาวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่มา 2010 ปีแล้ว วันตรุษจีนหรือปีใหม่นี้ จีนโบราณเรียกว่า กั้วเหนียน ผ่านปีหรือ หยวนตั้น ? ขึ้นปีใหม่

เทศกาลตรุษปีใหม่หรือตรุษวสันต์นี้ เดิมเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ นักวิชาการเริ่มวิเคราะห์จากคำว่า ?เหนียน? 年ซึ่งปัจจุบันแปลว่า ปี เทศกาลตรุษจีน เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ?กั้วเหนียน?

ในสมัยโบราณ (ก่อนราชวงศ์โจว) เหนียน หมายถึง รอบการเจริญเติบโตของธัญพืชรอบหนึ่ง ธัญพืชสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว และ/หรือหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของการเพาะปลูก ดังนั้น คำว่า ?กั้วเหนียน? เดิมทีมิได้หมายถึงการสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ แต่หมายความว่า ในปีนั้นๆ เก็บเกี่ยวได้อุดมสมบูรณ์

โดยทั่วไปแล้ว การเพาะปลูกในตงง้วนจะเก็บเกี่ยวกันตอนปลายฤดูใบไม้ร่วง ส่วนฤดูหนาวคือช่วงระยะล่าสัตว์ เมื่อเราย้อนกลับไปดูการกำหนดเดือนอ้ายขึ้นปีใหม่ในปฏิทินโบราณทั้ง 4 ระบบ จะเห็นว่าก๊กเซี่ย ขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนมกราคม ก๊กซางขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนธันวาคม ก๊กโจวขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนพฤศจิกายน ก๊กฉินขึ้นปีใหม่ตอนปลายเดือนตุลาคม ที่ต่างกันดังนี้ อาจเนื่องมากจากความแตกต่างของฤดูกาล
เทศกาลปีใหม่มีขึ้นอย่างเป็นเอกภาพพร้อมเพรียงกัน หลังจากจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ประกาศใช้ปฏิทินไท่ชูลี่ เมื่อค.ศ. 105 แล้ว ดังนั้น อาจกล่าวว่า เทศกาลปีใหม่จีนหรือตรุษจีนเริ่มกำหนดอย่างเป็นทางการในรัชสมัยฮั่นอู่ตี้ ในส่วนคติชาวบ้านก็มีนิทานพื้นบ้านอธิบายว่าทำไมจึงเรียกเทศกาลตรุษวสันต์ว่า ?กั้วเหนียน? เช่นกัน ดังนี้ ในรัชสมัยของจู๋อี่ โอรสสวรรค์องค์ที่ 14 แห่งราชวงศ์ซาง มีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อ ว่านเหนียน 万年เห็นว่าการประกาศปฏิทินกำหนดฤดูกาลของราชสำนักมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากสภาพภูมิอากาศที่เป็นจริง อันก่อผลเสียหายแก่การกสิกรรมและการปศุสัตว์มาก ว่านเหนียนจึงพากเพียรพยายามติดตามศึกษาดาราศาสตร์ ศึกษาเงาตะวันจากนาฬิกาแดด เป็นต้น จนกระทั่งทราบต้นตอที่มาของความผิดพลาด การคำนวณปฏิทินแบบเดิม

ขณะนั้นโอรสสวรรค์จู่อี่เอง ก็ทรงร้อนพระทัยห่วงใยที่การกำหนดฤดูกาลไม่แม่นยำ แต่ทว่าอาเหิง อำมาตย์ผู้ควบคุมการคำนวณฤดูกาลไม่ยอมรับว่าตนด้อยความรู้ความสามารถ กลับเสนอจู่อี่ว่า การที่ฤดูกาลไม่ตรงกับที่ได้คำนวณกำหนดไว้นั้น เนื่องมาจากพลเมืองกระทำมิดีผิดผีลบลู่เทพยดาฟ้าดิน

โอรสสวรรค์จักต้องก่อสร้างหอมหึมาแล้วนำอำมาตย์ทั้งมวลขึ้นไปบวงสรวงเทพยดาฟ้าดินพร้อมกัน จู๋อี่ ทรงเชื่อตามที่อาเหิงเสนอ จึงทรงสั่งให้เก็บส่วยจากพลเมืองในแคว้น เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับบวงสรวงฟ้าดิน ฝ่ายว่านเหนียนเห็นว่าการทำเช่นนี้ มิอาจแก้ปัญหาอันใดได้เลย รังแต่จะเพิ่มความทุกข์ยากลำบากต่อราษฎรเป็นทวีคูณ ว่านเหนียนจึงขอเข้าเฝ้าจู๋อี่ แล้วอธิบายสาเหตุที่การคำนวณปฏิทินแบบเก่าผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้จู๋อี่ฟัง

จู๋อี่ทรงยอมรับหลักการของว่านเหนียน จึงระงับพิธีบวงสรวงนั่นเสีย แล้วสร้างหอดาราศาสตร์ให้ว่านเหนียนใช้ทำงานค้นคว้า อาเหิงแทนที่จะดีใจที่วิทยาการจะก้าวหน้าขึ้น แกกลับอิจฉาริษยาว่านเหนียน เกรงว่าหากว่านเหนียนปรับปรุงปฏิทินสำเร็จ ตนจะถูกปลดออกจากตำแหน่งขุนนาง อาเหิงจึงว่าจ้างมือสังหารไปฆ่าว่านเหนียน แต่เนื่องจากว่านเหนียน ทำงานในหอดาราศาสตร์ทั้งกลางวันกลางคืน ภายนอกหอก็มีทหารพิทักษ์รักษาเวรยาม มือสังหารจึงหาโอกาสฆ่าว่านเหนียนไม่ได้สักที กาลผ่านไปเนิ่นนาน มือสังหารจึงตัดสินใจใช้ธนูลอบยิง ว่านเหนียนถูกธนูที่แขน แต่คนร้ายเองที่ถูกจับนำไปสอบสวนต่อหน้าจู๋อี่ เมื่อความลับเปิดเผยขึ้น อาเหิงจึงถูกประหาร

ในคืนวันนั้นจู๋อี่ก็เสด็จไปเยี่ยมว่านเหนียนที่หอดาราศาสตร์ เมื่อไปถึงว่านเหนียนได้พูดว่า ?ขณะนี้เป็นเวลาเที่ยงคืนพอดี ปีเก่ากำลังผ่านพ้น วสันตฤดูกำลังเริ่มต้น ขอพระองค์จงทรงตั้งชื่อวันนี้ไว้เป็นที่ระลึกเถิด จู๋อี่ จึงทรงตั้งชื่อวันนั้นว่า ตรุษวสันต์ แล้วทรงชวนว่านเหนียนไปพักรักษาตัวในราชวัง แต่ว่านเหนียนยืนหยัดที่จะทำงานในหอดาราศาสตร์ต่อไป

กาลเวลาผ่านไปอีกสามปี ว่านเหนียนจึงปฏิรูประบบปฏิทินเสร็จสมบูรณ์ แต่ทว่าบัดนี้ ว่านเหนียนผู้แต่เดิมยังเป็นหนุ่มฉกรรจ์ได้เปลี่ยนเป็นชายชราผมขาวโพลน โอรสสวรรค์จู๋อี่ทรงประทับพระทัยในอุตสาหะวิริยะของว่านเหนียน จึงทรงตั้งชื่อปฏิทินใหม่นั้นว่า ?ปฏิทินว่านเหนียน? (ว่านเหนียนลี่) และทรงแต่งตั้งให้ว่านเหนียนเป็นเทพแห่งอายุวัฒนะ นี่เองคือต้นตอที่ชาวบ้านจีนเรียกตรุษวสันต์ว่า ?กั้วเหนียน?และในเทศกาลนี้ชาวบ้านก็มักนิยมแขวนภาพ ?เทพแห่งอายุวัฒนะ? (โส้วซิง) เพื่อรำลึกถึงคุณูปการความดีงามและคุณธรรมของ ?ว่านเหนียน? นั่นเอง....

คืนก่อนวันปีใหม่
คือวันสุดท้ายของปีนั่นเองเป็นคืนที่ครึกครื้นที่สุด ใครที่ไปทำงานห่างจากบ้านเกิด ต่างก็พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะกลับมาฉลองวันปีใหม่ที่บ้าน ตอนกินอาหารมื้อค่ำคืนก่อนขึ้นปีใหม่จีน ทุกคนในครอบครัวต่างนั่งกันพร้อมหน้าล้อมโต๊ะอาหาร ต่างชนแก้วอวยพรปีใหม่กัน ทานมื้อค่ำเรียบร้อยแล้ว บางคนก็ดูทีวี บางคนก็ฟังเพลง บางคนก็นั่งคุยกัน บางคนก็เล่นหยอกล้อกับเด็กๆ บ้านเต็มไปด้วยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ พอถึงเที่ยงคืน คนจีนทางเหนือก็จะเริ่มทำเกี๊ยว (เจี้ยวจึ) คนจีนทางใต้ ก็จะปั้นลูกอี๋ทำน้ำเชื่อม ทำไป ชิมไปทานไป ครึกครื้นอย่างยิ่ง เช้าวันรุ่งขึ้นแต่เช้า ทุกคนจะตื่นแต่เช้า เยี่ยมเพื่อนบ้าน เพื่อนฝูงอวยพรปีใหม่

ประวัติวันตรุษจีน หรือปีใหม่จีน
ประวัติของวันขึ้นปีใหม่ของจีนมีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในวัฒนธรรมอื่นๆ ความปรารถนาสิ่งที่เราหวังว่าจะได้ปรับปรุง หรือที่เราคิดทำเมื่อเริ่มต้นในปีใหม่ มาถึงตอนนี้ ถ้าไม่ถูกลืมก็ถูกยัดลงกล่องใส่ตู้ปิดตายและแปะหน้าตู้ว่าไม่แน่ เอาไว้ทำปีหน้าแล้วกันอย่างไรก็ดี ความหวังก็คงยังไม่สูญไปทั้งหมดเพราะโอกาสที่สองกำลังมาถึงแล้ว กับการฉลองวันปีใหม่จีนหรือที่เรารู้จักกันว่า ตรุษจีนในวันที่ 17 กุมภาพันธ์นี้ นั้นเอง

ตรุษจีนนั้นคล้ายคลึงกับวันปีใหม่ในประเทศทางตะวันตก ร่องรอยของประเพณี และพิธีกรรมความเป็นมาของการฉลองตรุษจีน นั้นมีมานานกว่าศตวรรษ จริงๆแล้วนานมาก จนไม่สามารถย้อนกลับไปดูว่าเริ่มต้นฉลองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นที่รู้จักและจำได้ทั่วไปว่าเป็น การฉลองเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ และการฉลองเป็นเวลานานถึง 15 วัน การเตรียมงานฉลองส่วนใหญ่จะเริ่มหนึ่งเดือนก่อนวันตรุษจีน (คล้ายกับวัน คริสต์มาสของประเทศตะวันตก) เมื่อผู้คนเริ่มซื้อของขวัญ, สิ่งต่างๆ เพื่อประดับบ้านเรือน, อาหารและเสื้อผ้า การทำความสะอาดครั้งใหญ่ก็เริ่มขึ้นในวันก่อนตรุษจีน บ้านเรือนจะถูก ทำความสะอาดตั้งแต่บนลงล่างหน้าบ้านยันท้ายบ้าน ซึ่งหมายถึงการกวาดเอาโชคร้าย ออกไป ประตูหน้าต่างมีการขัดสีฉวีวรรณทาสีใหม่ซึ่งสีแดงเป็นสีนิยม ประตูหน้าต่างจะถูก ประดับประดาด้วยกระดาษที่มีคำอวยพรอย่างเช่น อยู่ดีมีสุข ร่ำรวย และอายุยืนเป็นต้น

วันก่อนวันตรุษจีนนั้นเป็นวันแห่งการการรอคอยจะว่าไปถือวันที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ในบรรดาการฉลองทั้งหมดเห็นจะได้ ประเพณีและพิธีกรรมต่างๆ นั้นผูกไว้กับทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ อาหาร ไปจนถึงเสื้อผ้า อาหารค่ำนั้นประกอบด้วยอาหารทะเล และอาหารนึ่งเช่นขนมจีบ ซึ่งแต่ละอย่างจะมีความหมายต่างๆกัน อาหารอันโอชะอย่างเช่นกุ้งจะหมายถึงชีวิตที่รุ่งเรือง และความสุข เป๋าฮื้อแห้งหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่ดี สลัดปลาสดจะนำมาซึ่งโชคดี จี้ไช่ (ผมเทวดา) สาร่ายดูคล้ายผมแต่กินได้จะนำความความร่ำรวยมาให้ และขนมต้ม (Jiaozi) หมายถึงบรรพชนอวยพร และเป็นธรรมดาเสื้อผ้าที่ใส่สีแดงถือเป็นสีที่เป็นมงคลเป็นการไล่ปีศาจร้ายให้ออกไป และการใส่สีดำหรือขาวเป็นสิ่งต้องห้าม ซึ่งสีเหล่านี้ถือว่าเป็นสีแห่งการไว้ทุกข์ หลังจากอาหารค่ำทุกคนในครอบครัวนั่งกันจนเช้าเพื่อรอวันใหม่โดยการเล่นเกม เล่นไพ่ หรือดูรายการทีวีที่เกี่ยวกับวันตรุษจีน และในวันนี้จะต้องไม่โกรธ ริษยา หรือ ไม่พอใจ เพื่อเป็นสิริมงคลที่ดีสำหรับปีที่กำลังจะมาถึง


เมื่อถึงวันตรุษจีน ประเพณีตั้งแต่โบราณมาเรียกว่า อังเปา ซึ่งหมายถึง กระเป๋าแดง เป็นการที่คู่แต่งงานให้เงินเด็กๆ และผู้ใหญ่ที่ยังไม่ได้แต่งงานในซองสีแดง หลังจากนั้นทุกคน ในครอบครัว ต่าง ออกมาเพื่อกล่าวสวัสดีปีใหม่ เริ่มจากญาติๆ แล้วต่อด้วยเพื่อนบ้าน ซึ่งคงคล้ายกับการที่ชาวตะวันตกพูดว่า "Let bygones be bygones" (อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป) ในวันตรุษนี้ อารมณ์โมโหโกรธาจะถูกลืม และไม่สนใจ การฉลองวันตรุษจีนสิ้นสุดลงในงานโคมไฟ ซึ่งฉลองโดยการร้องเพลง เต้นรำ และงานแสดงโคมไฟ ถึงแม้ว่าการฉลองวันตรุษจีน จะมีแตกต่างกันออกไปแต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ การอวยพร ความสงบ และความสุขให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนทุกคน



วันนักประดิษฐ์ (วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี)


คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันนักประดิษฐ์" มีกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ในขณะนั้น) ทำหน้าที่รับผิดชอบ ในการดำเนินงาน ซึ่งได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางประสาน กับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดกิจกรรมงาน "วันนักประดิษฐ์" ทุกปี ความเป็นมาของ "วันนักประดิษฐ์" นั้น มีขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการที่ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้น "เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย" หรือ กังหันชัยพัฒนา และทรงได้รับการ ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 นอกจากจะเป็นการเทิดพระเกียรติแล้ว ยังเป็นวันที่ระลึกถึง วันประวัติศาสตร์ ของการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระมหากษัตริย์ พระองค์แรกของโลก




ที่ทรงคิดค้นประดิษฐ์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อพสกนิกรชาวไทย และเพื่อเป็นแบบฉบับให้ แก่นักประดิษฐ์ไทย ได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ปัจจุบัน การประดิษฐ์คิดค้นได้รับการยอมรับว่า เป็น ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการเสริมสร้างสถานะ ทางเศรษฐกิจของประเทศ สร้างสรรค์เทคโนโลยี ที่ทันสมัย นำไปสู่ การพัฒนาประเทศโดยที่ประเทศไทย มีประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอยู่ในหน่วยงานทั้งของ ภาครัฐและเอกชน ที่มีความรู้ ความสามารถและสนใจที่จะดัดแปลง หรือคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับ สภาวะ ของ ประเทศ แต่เนื่องจากไม่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้สามารถพัฒนาไปสู่การนำไปใช้ประโยชน์ อย่างแท้จริง จึงทำให้นักประดิษฐ์ขาดกำลังใจในการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อ ส่วนรวม วันนักประดิษฐ์ จึงมีเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมการประดิษฐ์ ของนักประดิษฐ์ทั้งหลาย ตลอดจนเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจการประดิษฐ์ เพื่อประสานความร่วมมือ และส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นในประเทศ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งยังเป็นส่งเสริมการประดิษฐ์ของคนไทยให้ก้าวหน้ามั่นคงต่อไป

วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันนักประดิษฐ์

เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ที่ทรงพระปรีชาสามารถประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ
เพื่อระลึกถึงวันประวัติศาสตร์ของการจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก
เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานของนักประดิษฐ์ไทยให้เป็นที่รู้จัก
เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเทคโนโลยีอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและประสานประโยชน์ระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์คิดค้น
เพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจแก่นักประดิษฐ์เยาวชนและประชาชนทั่วไปในอันที่จะแสดงความรู้ความสามารถต่อสาธารณชน เพื่อจะได้ทำการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น
เพื่อประกาศเกียรติคุณแก่นักประดิษฐ์ที่มีความสามารถ และนำผลงานของนักประดิษฐ์ออกเผยแพร่ใช้งานได้อย่างจริงจัง
การจัดกิจกรรมในงานวันนักประดิษฐ์ ประกอบด้วย

นิทรรศการและการแสดงผลงาน สิ่งประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรูปแบบต่างๆ เช่น รูปภาพ โปสเตอร์ การฉายวิดีโอ และแสดงสิ่งประดิษฐ์ ซึ่งทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์
การแสดงนิทรรศการของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
การจัดประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ ประเภททั่วไปและนักเรียน
ให้คำแนะนำและบริการเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิบัตร
ให้คำแนะนำการสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยด้านทุนอุดหนุน การวิจัยและรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ได้แก่ รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รางวัลผลงานนักวิจัยยอดเยี่ยม และรางวัลผลงานนักประดิษฐ์คิดค้น
การเผยแพร่ความรู้ทางสื่อมวลชนเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นการจัดกิจกรรมต่างๆ ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในงานวันนักประดิษฐ์ นับได้ว่าเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นในประเทศอย่างกว้างขวาง และเป็นกำลังใจให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้น เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติในอนาคต

๒๐ มกราคม ๒๕๕๑

วันพ่อขุนเม็งราย


พ่อขุนเม็งรายเป็นโอรสของพระเจ้าลาวเมงแห่งราชวงค์ ลวจักราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำขยาย ราชธิดาของเท้ารุ่งแก่นชาย เจ้าเมืองเชียงรุ้งพระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช 601 ตรงกับพ.ศ.1781 ในปีพ.ศ.1819 พ่อขุนเม็งรายได้ยกทัพไปประชิดเมืองพะเยา พ่อขุนงำเมือง ผู้ครองเมืองพะเยาออกมารับเสด็จด้วยไมตรีแล้วยกตำบลบ้านปากน้ำให้แก่พ่อขุนเม็งรายแล้วปฏิญาณเป็นมิตรกัน ต่อมาอีกราว 4 ปี พ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนงำเมืองและพ่อขุนเม็งราย ได้กระทำสัตย์ปฏิญาณเป็นพระสหายกัน โดยทรงเอาโลหิตที่นิ้วพระหัตถ์ผสมกับน้ำสัตย์เสวยทั้งสามพระองค์ สัญญาว่าไม่เบียดเบียนกันตลอดชีวิต

และในปี พ.ศ.1834 พ่อขุนเม็งรายได้เสด็จไปสร้างเมืองใหม่ที่เชิงดอยสุเทพ ใช้เวลาสร้างนาน 5 ปี ในปี พ.ศ.1839 จึงเสด็จและสถาปนานครแห่งนี้ว่า "เชียงใหม่" พ่อขุนเม็งรายทรงประสูติมาเพื่อเป็นผู้กอบกู้และรวบรวมชาวไทยให้เป็นกลุ่มเป็นก้อน เพื่อระงับทุกข์เข็ญต่างๆ ในแผ่นดินและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นในแคว้นลานนาเป็นเอนกประการ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์โดยสังเขปมีดังนี้
1.ทรงสร้างเมืองเอกในแว่นแคว้นถึง 3 เมืองได้แก่ เมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ.1805 เมืองกุมกาม ( ปัจจุบันคืออำเภอสารภีจังหวัดเชียงใหม่ ) พ.ศ.1829 เมืองเชียงใหม่ พ.ศ.1834 นอกจากนั้นพระองค์ได้ทรงบูรณะเมืองหิรัญนครเงินยาง ในปี พ.ศ.1811 ได้บูรณะเมืองฝาง เพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมไพร่พลของพระองค์ (ซึ่งแต่เดิมเมืองฝางตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองหิรัญนครเงินยางมาก่อน) และโปรดให้ขุนอ้ายเครือคำลก หรือขุนเครื่อง ราชโอรสองค์ใหญ่ไปครองเมืองฝาง
2.ทรงแผ่พระเดชาในทางการรบ กล่าวคือหลังจากได้ส่งกองทัพไปปราบเมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงคำไปแล้วในปี พ.ศ.1824 ตีเมืองหิริภุญชัยจากพระยายีบาได้สำเร็จดินแดนภาคเหนือทั้งหมด พ่อขุนเม็งรายได้ครอบครองโดยทั่วอาณาจักรลานนาในรัชสมัยของพระองค์มีอาณาเขตกว้างไกล ดังนี้

ทิศเหนือ จดสิบสองปันนา
ทิศใต้ จดอาณาจักรสุโขทัย
ทิศตะวันออก จดแคว้นลาว
ทิศตะวันตก จดแม่น้ำสาละวิน

3.ทรงนำความเจริญในด้านศิลปกรรรม และพาณิชยกรรมมาสู่แคว้นลานนาโดยเมื่อครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระองค์ได้นำช่างฝีมือต่างๆ เช่น ช่างฆ้องช้าง ช่างทอง และช่างเหล็ก ชาวพุกามเข้ามาฝึกสอนชาวลานนาไทย เพื่อให้เข้าใจในศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ทรงจัดหาทำเลที่เหมาะสมในการเกษตรและการค้าเพื่อให้มีอาชีพทั่วหน้า พระองค์ทรงพระปรีชาในด้านการปกครองด้วยเช่นกัน ได้แก่การวางระเบียบการปกครองหรือกฎที่ทรงตั้งขึ้นไว้เป็นพระธรรมศาสตร์ ใช้ในการปกครองแผ่นดิน เรียกว่า "กฎหมายมังรายศาสตร์" เพื่อให้ลูกขุนใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาในการพิพากษาผู้กระทำผิด สมควรแก่โทษานุโทษ

4.ทรงเป็นนักปกครองที่สามารถ และประกอบด้วยคุณธรรมสูงส่ง พ่อขุนเม็งรายทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเป็นองค์ศาสนูปถัมภก และทรงนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครองราษฎรของพระองค์ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมีศีลธรรมอันดี มีความโอบอ้อมอารีย์ แม้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักรบผู้แกล้วกล้าแต่การใดที่เป็นทางนำไปสู่ความหายนะเป็นเหตุให้เสียเลือดเนื้อระหว่างคนไทยด้วยกัน พระองค์ทรงหลีกเลี่ยง ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงรับไมตรีจากเจ้าผู้ครองนครต่างๆ และการกระทำสัตย์ปฏิญาณระหว่างสามกษัตริย์

เจ้าขุนครามหรือพระเจ้าไชยสงคราม พระราชโอรสของพญามังรายได้ขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ หลังจากที่พญามังรายได้สวรรคต เจ้าขุนครามได้โปรดให้สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระบิดาไว้ ณ บนดอยงำเมือง นอกจากบนวัดงำเมืองจะมีกู่พ่อขุนเม็งรายแล้ว ยังมีอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชขนาดเท่าครึ่งตัว ประทับนั่งบนบัลลังก์ ทรงเครื่องทรงแบบเดียวกับอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชบริเวณห้าแยก ทรงถือดาบด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง วางบนพระเพลา ทั้งสองสิ่งนี้เป็นที่นับถือของประชาชนชาวเชียงราย และผู้นับถือท่านอีกแห่งหนึ่งด้วย

วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ


หน้าที่
หน้าที่หลักของทหาร นอกจากพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ และยึดมั่นเทิดทูนจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างมั่นคงแล้ว ทหารยังต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศชาติ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นคง และก่อให้เกิดสันติภาพ อย่างถาวรในพื้นที่รับผิดชอบ เพราะชาติบ้านเมืองจะมีความสงบเรียบร้อยขึ้นมาได้ ประชาชนนับว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

"โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง" หรือ "อพป." จึงถูกจัดตั้งขึ้นมาในยุคสมัยที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ก่อการร้าย โดยมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้ง ในการประสานงานอำนวยการกำกับดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ในยุคสมัยแรกมีการจัดตั้งโครงการ อพป.ขึ้นมา เพราะเหตุที่มีการแพร่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ทุรกันดารห่างไกล ราษฎรไม่สามารถช่วยตนเองให้รอดพ้นจากภัยดังกล่าวได้ จึงง่ายต่อการแทรกซึมบ่อนทำลายเพราะการเข้าไปบริการ ดูแลแก้ไขปัญปัญของภาครัฐยังขาดประสิทธิภาพ

โครงการ อพป.
จึงเกิดขึ้น เพื่อให้การพัฒนาต่าง ๆ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ปรับปรุงกองกำลังของประชาชนให้มี ประสิทธิภาพ เร่งเร้าจิตสำนึกของราษฎรในพื้นที่ที่ถูกแทรกแซง เพื่อให้เกิดความเคลื่นไหวในการพัฒนาหมู่บ้านและป้องกันตนเอง รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านถาวรขึ้นมารับผิดชอบ โดย ครม.ได้รับอนุมัติหลักการให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2517 กำหนดให้เป็นโครงการระดับนานาชาติ และถือเป็นความเร่งด่วนสูงสุดที่ส่วนราชการทุกระดับจะต้องให้ความร่วมมือสนับสนุน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม การปกครองและการรักษาความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล โดยมีหน่วยงานหลักที่ร่วมเข้าไปรับผิดชอบดำเนินการ 8 กระทรวงหลักคือกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีกฎหมายรองรับคือ พ.ร.บ. การจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาตาม พ.ร.บ.

จากวันนั้นจนถึงวันนี้ โครงการ อพป. ได้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการทำให้สถานการณ์บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติ มีความสุข ความปลอดภัย เป็นที่อบอุ่นไปทั่วทุกแห่งหนไม่ว่าชนบทใกล้-ไกล เพราะราษฎรเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการให้ความร่วมมืออย่างเต็มภาคภูมิ

ปัจจุบันหมู่บ้าน อพป. ที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศ มีจำนวนร่วม 2 หมื่นหมู่บ้าน ใน 59 จังหวัด สำหรับในพื้นที่ภาคอีสาน มีจำนวน 3,928 หมู่บ้าน การดำเนินงานของแต่ ละภาคทั้ง 4 ภาค มีศูนย์อาสาพัฒนาและป้องกันตนเองของ กอ.รมน. แต่ละภาคเป็นหน่วยรับผิดชอบ มีภารกิจในการวางแผนอำนวยการ ประสานงานและกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ อพป.ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ

วันกองทัพไทย


ประวัติ
สาเหตุที่กำหนดให้ วันที่ 18 มกราคม (เริ่มต้นในปี 2550 เดิมเป็นวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี) เป็นวันกองทัพไทยนั้น เนื่องจากเป็นวันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จอมทัพไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อ สมเด็จพระมหาอุปราชา แห่งพม่า และผลแห่งชัยชนะในครั้งนั้น ทำให้ข้าศึกไม่กล้าเข้ามารุกรานไทยทุกทิศทาง เป็นเวลาถึง 150 ปี

เมื่อกรุงหงสาวดีของพม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่พระเจ้าบุเรงนองขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อมา ทางพม่าได้แจ้งข่าวการเปลี่ยนรัชกาลไปยังประเทศราชทั้งปวง โดยให้ผู้ปกครองประเทศราชไปเฝ้าตามประเพณี ในครั้นสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดปรานให้พระนเรศวรราชโอรสเสด็จขึ้นแต่เมื่อเสด็จถึงเมืองแครง บังเอิญทรงทราบถึงแผนการของพม่าที่คิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากบุคคลสำคัญทางมอญหลายคนที่สนิทสนมคุ้นเคยได้ลอบทูลก่อนที่พระองค์จะเสด็จถึงเมืองพม่า

ด้วยเหตุนี้ พระนเรศวรจึงทรงถือโอกาสประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ในปีพ.ศ. 2127 แยกราชอาณาจักรศรีอยุธยาออกเป็นอิสรภาพจากพม่า แล้วจึงยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปจนใกล้จะถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีไปรบพุ่งมีชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว จวนใกล้จะยกทัพกลับคืนพระนคร พระนเรศวรทรงเห็นว่าการจะตีเมืองหงสาวดีในครั้งนี้คงไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันไปบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนเอาไปเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ให้อพยพกลับ ได้ครอบครัวกลับมาตุภูมิเดิมถึง 10,000 เศษ ฝ่ายอุปราชาได้ทราบข่าวจึงยกมาเป็นทัพหลวง ยกติดตามพระนเรศศวรมา โดยให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า ครั้นกองหน้ามาถึงแม่น้ำสะโตงเมื่อพระนเรศวรยกข้ามฟากมาได้แล้ว จึงยิงต่อสู้กันอยู่ที่ริมน้ำ พระนเรศวรทรงยิงพระแสงปืนกระบอกหนึ่งยาว 9 คืบ ถูกสุรกรรมานายทัพหน้าของข้าศึกตายอยู่กับคอช้าง พวกรี้พลเห็นว่านายทัพตายก็พากันครั่นคร้ามเลิกทัพกลับไป

พระแสงปืนซึ่งพระนเรศวรยิงถูกสุรกรรมาดับชีพในคัร้งนั้นได้มีนามปากกาปรากฎว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธอันเป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับแผ่นดินสืบมาตราบจนถึงกาลปัจจุบันนี้ ครั้นถึงเดือนพฤศจิกายน วันอาทิยต์ ขึ้น 9 ค่ำ พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรงได้เสร็จยาตราทัพออกจากกรุงหงสาวดี เพื่อยกมาตีกรุงศรีอยุธยา โดยให้พระอุปราชาอยู่รักษาพระนคร พระนเรศวรทรงทราบว่าพม่ายกมาครั้งนี้เป็นทัพกษัตริย์ใหญ่หลวงนัก จึงตรัสให้รวบรวมเสบียงอาหารและไพร่พลฉกรรจ์จากหัวเมืองเข้าพระนคร แม้กองทัพใหญ่ฝ่ายพม่าจะยกเข้าโจมตีพระนครเป็นหลายครั้งก็หาสำเร็จไม่ จึงตั้งล้อมกรุงไว้เป็นเวลา 4 เดือน เห็นว่าไม่มีทางเอาชนะไทยได้ ทั้งเสบียงอาหารก็ขัดสน และไข้รุม จึงต้องยกทัพกลับ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2130 ในศึกครั้งนั้น พระนเรศวรออกรบอย่างกล้าหาญ และปลอมพระองค์จะเข้าค่ายพระหงสาวดี โดยเสด็จลงจากหลังม้าทรงคาบพระแสงดาบ นำทหารปีนระเนียด (ปีนค่าย) แต่ถูกข้าศึกแทงตกลงมาจึงเข้าไม่ได้ พระแสงดาบซึ่งทรงในวันนั้นจึงปรากฏนามว่า "พระแสงดาบคาบค่าย"

ครั้นถึงวันจันทร์ เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2135 สองวีรกษัตริย์ไทย คือ สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถได้เข้าตีกองทัพหน้าของพม่าที่ยกมาครั้งใหม่แตกหนีอลหม่าน ขณะนั้นเองช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรชื่อ เจ้าพระยาไชยานุภาพ กับช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถชื่อ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ซึ่งเป็นช้างตกมันทั้งคู่ ได้ไล่ตามพวกข้าศึกไปอย่างเมามันทำให้กองกำลังทหารไทยตามไม่ทัน สองวีรกษัตริย์ไทยเข้าไปอยู่กลางวงล้อมของเหล่าข้าศึก มีแต่จตุรงคบาทและพวกทหารรักษาพระองค์เท่านั้นที่ติดตามไปทัน เมื่อพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชธารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าท้าวพระยา จึงทราบว่าได้ถลำเข้ามาจนถึงกลางกองทัพของปัจจามิตรแล้ว แต่พระองค์ทรงมีสติมั่นไม่หวั่นไหวจึงไสช้างเข้าไปใกล้แล้วตรัสไปโดยฐานคุ้นเคยกันมาก่อนทั้งในวัยเยาว์และวัยเติบใหญ่ว่า "เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไม ขอเชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกันให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่จะชนช้างอย่างเราจะไม่มีอีกแล้ว"


ด้วยความมีขัตติยมานะ พระมหาอุปราชาจึงไสช้าง พลายพัธกอ ออกมาชนกับเจ้าพระยาไชยานุภาพซึ่งกำลังตกมัน เมื่อเห็นข้าศึกตรงออกมาท้าทายก็โถมแทงทันทีไม่ยับยั้ง เลยพลาดท่าทำให้พลายพัธกอได้ล่างแบกรุนเอาเจ้าพระยาไชยานุภาพเบนจะขวางตัว พระมหาอุปราชาได้ทีฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงพระองค์หลบทันเลยถูกแต่พระมาลาหนังขาดวิ่นไป พอดีกับเจ้าพระยานุภาพสะบัดหลุดแล้วกลับได้ล่างแบกรุนพลายพัธกอหันเบนไปบ้าง สมเด็จพระนเรศวรจึงจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาที่อังสะขวา (ไหล่ขวา) ขาดสะพายลงมา ซบสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้าง

ส่วนสมด็จพระเอกาทศรถได้ชนช้างกับเจ้าเมืองจาปาโรขาดสะพายแล่งตายคาคอช้างเช่นกัน พวดท้าวพระยาเมืองหงสาวดี เห็นเจ้านายเสียทีต่างก็กรูกันเข้ามาช่วย ใช้ปืนระดมยิงถูกสมเด็จพระนเรศวรที่พระหัตถ์ถึงบาดเจ็บ พอดีขณะนั้นกองทัพหลวงของไทยตามมาทัน จึงเข้ารบพุ่งแก้เอาจนจอมทัพไทยออกมาได้ ฝ่ายกรุงหงสาวดีก็เลิกทัพกลับไป

พระแสงของ้าวที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประหารพระมหาอุปราชาครั้งนั้น ได้นามต่อมาว่า "พระแสงแสนพลพ่าย" และพระมาลาที่ถูกฟันปรากฏนามว่า "พระมาลาเบี่ยง" นับเป็นเครื่องมงคลราชูปโภคมาจนบัดนี้ ส่วนช้างศึกที่ชนะก็ได้รับพระราชทานชื่อว่า "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"


เดิมนั้นกระทรวงกลาโหมได้กำหนดให้วันที่ 8 เมษายนของทุกปีเป็นวันกองทัพไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้เปลี่ยนโดยให้ถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย ตามมติของคณะรัฐมนตรีในสมัยนั้น ภายหลังได้มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านได้ตรวจสอบ และพบว่าวันที่ทรงกระทำยุทธหัตถีนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม แต่น่าจะตรงกับวันที่ 18 มกราคม ปีดังกล่าว ทางราชการยังคงถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทยต่อไป จนกระทั่งวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ให้เปลี่ยนแปลงกำหนดวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่ 18 มกราคม ของทุกปี และอนุมัติให้เป็นวันหยุดราชการของกระทรวงกลาโหมตามหลักการเดิม

วันครูแห่งชาติ

ในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และประชาชน กรรมการอำนวยการคุรุสภา กิตติมศักดิ์ ในสมัยนั้นได้กล่าวคำ ปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศ และได้เสนอแนะว่า เนื่องจากครูเป็นผู้มีบุญคุณและเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ครูจึงควรมีสักวัน ในวันหนึ่งสำหรับได้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหาย ได้มีโอกาสแสดงความเคารพสักการะ จะเห็นว่าในวันสำคัญอื่นๆ เช่น วันปีใหม่ และวันสงกรานต์ พวกเราก็จะแสดงความเคารพสักการะต่อญาติๆ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้ว และยังกาทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย และเนื่องจากครูของเรามีบทบาทสำคัญถัดจากบิดามารดา ข้าพเจ้าจึงใครที่เสนอความคิดนี้ต่อประชุมนี้และขอร้องให้พวกท่านไปพิจารณาในหลักการ หวังว่าทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง



จากแนวความคิดนี้กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชน ล้วนเรียกร้องให้มีวันครู เพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ที่ประชุมคุรุสภาให้มีวันครู เพื่อที่จะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 16 มกราคมของทุกๆปี เป็น "วันครู" และการจัดงานวันครู ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 และให้ดำเนินเรื่อยมาทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นมา โดยจัดให้มีขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรมหลักในวันนั้นประกอบด้วย

- พิธีกรรมทางศาสนา
- พิธีรำลึกถึงพระครูบูรพาจารย์
- กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู
เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อครู พวกเราจึงขออวยพรให้ท่านและครอบครัวของท่านมีความสุข ความเจริญ และมีสุขภาพแข็งแรง ตราบชั่วอายุไขอันยาวนาน








บทสวดเคารพครูอาจารย์


(สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ


(สวดทำนองสรภัญญะ)
(สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์
โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม (กราบ)

วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ


ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่สำคัญของชาติ ให้ประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ประชาชน ช่วยรักษาความสมดุลของภาวะแวดล้อม และป้องกันภัยธรรมชาติซึ่งนำความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน สาเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ ส่วนหนึ่งมาจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าจนทำให้เกิดความเสียหายต่อสภาพป่าไม้ของชาติ ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางภาวะแวดล้อมขึ้นจนถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

วันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 พระราชกำหนดดังกล่าวได้ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการให้สัมปทานป่าไม้สิ้นสุดลงทั้งแปลงได้ ดังนั้นการจัดวางโครงการทำไม้ทั่วประเทศต้องยุติลงทุกโครงการและพื้นที่ เหตุเนื่องมาจากอุทกภัยภาคใต้ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2531 โดยเฉพาะที่ตำบลกระทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และวาตภัยจากพายุเกย์ที่จังหวัดชุมพร เมื่อ พ.ศ.2532 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่า ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งมาจากสาเหตุการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า จำเป็นต้องทำการรณรงค์ต่อเนื่องและระยะยาว ให้ประชาชนได้เข้าใจ และให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อต้องการอนุรักษ์ป่าไม้ที่มีอยู่อย่างจำกัดมิให้ถูกทำลายต่อไปพร้อมทั้งได้กำหนดให้ช่วงปี 2532-2535 เป็น "ปีแห่งการป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ" และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ.2533 กำหนดให้วันที่ 14 มกราคมของทุกปีเป็น "วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แห่งชาติ"

วัตถุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม พ.ศ.2532

เพื่อให้ประชาชนในชาติได้ตระหนักถึงผลร้ายที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทำให้ประชาชนจำนวนมากในภาคใต้ และภาคอื่นต้องสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินไป

เพื่อระลึกถึงมาตรการอันเด็ดเดี่ยวของรัฐบาลที่ได้สั่งปิดป่า ระงับการทำไม้ในป่าสัมปทาน ถือว่าเป็นก้าวสำคัญในประวัติศาสตร์ของการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ

ผลทางตรงที่เกิดขึ้นก็คือ การทำไม้ในป่าสัมปทาน จำนวน 276 ป่า เนื้อที่ 96,728,981 ไร่ ยุติลงโดยสิ้นเชิง ทำให้ต้นไม้ในป่าสัมปทานไม่ถูกตัดฟัน เป็นการอนุรักษ์ต้นไม้ไว้ใช้สอยในอนาคต คิดเป็นเนื้อไม้เฉลี่ยปีละ 3 ล้านลูกบาศก์เมตร จนทำให้รัฐบาลได้รับคำชมเชยจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก และเป็นการสนับสนุนมาตรการป้องกันมลภาวะของโลกโดยตรง

นโยบายของรัฐบาล เป็นการตอบสนองนโยบายการป้องกันรักษาป่าและนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ด้านสังคมและการเมือง ทำให้ประชาชนมีความรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ ทำให้มีการใช้ไม้อย่างประหยัด และส่งผลให้สามารถอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้เป็นสมบัติของประชาชนทุกคนในชาติได้ตลอดไป

เพื่อให้การจัดงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมเจตนารมย์ของทางราชการจึงสมควรได้รับการสนับสนุน ดังนี้ ภาคราชการ จัดงานวันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของวันดังกล่าว ซึ่งมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การจัดนิทรรศการ การเผยแพร่ความรู้ การบรรยายความรู้ในสถานศึกษา ประกวดวาดภาพป่าไม้ แจกเอกสารเผยแพร่แจกกล้าไม้แก่ ประชาชน ตลอดจนจัดประชุมชี้แจงแก่ประชาชนทั่วไป เชิญชวนให้ประชาชนงดเว้นการตัดไม้ทำลายป่า พร้อมทั้งร่วมกันปลูกและบำรุงรักษาต้นไม้ในทุกท้องที่ ภาคเอกชน ประชาชนควรให้การสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมกับทางราชการเท่าที่สามารถจะทำได้ ควรถือเอาวันที่ 14 มกราคม เป็นวัน ลด ละ เลิก การบุกรุกแผ้วถางป่าและตัดไม้ทำลายป่า และร่วมมือร่วมใจกันปลูกต้นไม้ขึ้นมาทดแทนที่ถูกตัดทำลายไปให้มากที่สุด วันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของชาติ เป็นวันสำคัญที่ทุกฝ่าย ทั้งภาคราชการ เอกชน ประชาชน เยาวชน จะต้องร่วมมือร่วมใจกันดำเนินการ จัดให้มีขึ้นทุกท้องที่ในวันที่ 14 มกราคม ของทุกปีเพื่อสนับสนุนนโยบายการป่าไม้แห่งชาติ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ไว้เป็นสมบัติของทุกคนในชาติตลอดไป

วันเด็กปี51


ความเป็นมาของวันเด็ก
เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง เด็กจึงควร เตรียมตัวที่จะเป็นกำลังของชาติด้วยการขยันหมั่นศึกษาหาความรู้และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ์อย่างเต็มที่ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัย มีความขยันขันแข็งตั้งใจทำงาน ด้วยความรับผิดชอบยึดมั่นในความซื่อสัตย์ สุจริต ตลอดจนมีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น เสียสละและ บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วน-รวม ช่วยกันรักษา ความสะอาดและอนุรักษ์ ทรัพยากรตลอดถึงสาธารณสมบัติส่วนรวมของชาติ หากเด็กทุกคนได้ตระหนักถึงอนาคตของตนและของประเทศชาติ โดยพยายาม ประพฤติปฏิบัติตนให้ได้ตามที่กล่าวข้างต้นอย่างเหมาะสมกับวัย แล้วก็จะได้ชื่อว่าเป็น "เด็กดี" ชาติบ้านเมืองก็จะเจริญ มีความผาสุก ร่มเย็นตลอดไป


ความคิดในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองนั้น นายวีเอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพ เด็กระหว่างประเทศได้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่ง ชาติ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็ก วันเด็กแห่งชาติของประเทศ วันเด็กแห่งชาติของประเทศไทยจึงมีขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และปฏิบัติกันเรื่อยมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ต่อมาเห็นว่าวันเสาร์ที่ ๒ ของเดือนมกราคม เหมาะสมสำหรับการจัดงานวันเด็กมากกว่า เนื่องจากพ้น ฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ แต่ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ไม่สามารถจัดงานวันเด็ก ได้ทันจึงได้จัดกันตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ งานวันเด็กแห่งชาติจึงจัดให้มีขึ้นในวันเสาร์ที่ ๒ ของเดือนมกราคม มาจนถึงบัดนี้


เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญยิ่งของประเทศชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง โดยปกติอายุของเด็กที่เข้าร่วมฉลองในงานนี้จะต่ำกว่า 14 ปี เพื่อเตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ เด็กควรจะมีความขยันหมั่นศึกษาหาความรู้ รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ มีระเบียบวินัย ขยันขันแข็ง ช่วยเหลือกันและกัน เสียสละรู้จักสิทธิหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งรักษาความสะอาดและรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสาธารณสมบัติ ถ้าหากเด็กตระหนักถึงอนาคตของตนเองและของชาติโดยการปฏิบัติตนตามที่กล่าวมานั้น ก็จะได้ชื่อว่าเป็น ?เด็กดี? และประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือง

ในขณะเดียวกัน เพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ จึงได้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรกในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 และถือปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2506 แต่ต่อมาเปลี่ยนเป็นวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เพราะเป็นช่วงหมดฤดูฝนแล้วและเป็นวันหยุดราชการอีกด้วย ดังนั้นจึงถือปฏิบัติมาจนถึงวันนี้


คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ในปีต่าง ๆ
ในปี พ.ศ. 2502 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ให้คุณค่าความสำคัญของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคติเตือนใจ สำหรับเด็กปีละ 1 คำขวัญ นายกรัฐมนตรีสมัยต่อมา ได้ถือเป็นธรรมเนียมสืบเนื่องมาดังนี้

2502 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กไทยในสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้าจงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า

2503 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กไทยในสมัยปฏิวัติของข้าพ เจ้าจงเป็นเด็กที่รักความสะอาด

2504 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กไทยในสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย

2505 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กไทยในสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด

2506 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ขอให้เด็กไทยในสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันมั่นเพียรมากที่สุด

2507 จอมพล ถนอม กิตติขจร
(งดจัดงานวันเด็ก)

2508 จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กจะเจริญต้องรักเรียนและเพียรทำดี

2509 จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะบากบั่นและสมานสามัคคี

2510 จอมพล ถนอม กิตติขจร
อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เรียนดี มีความประพฤตเรียบร้อย

2511 จอมพล ถนอม กิตติขจร
ความเจริญและความมั่นคงของชาติไทยในอนาคต ขึ้นอยู่กับเด็กที่มีวินัยมีความเฉลียวฉลาด และรักชาติยิ่ง

2512 จอมพล ถนอม กิตติขจร
รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ

2513 จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กประพฤติดีและศึกษาดี ทำให้มีอนาคตแจ่มใส

2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร
ยามเด็กจงมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ

2515 จอมพล ถนอม กิตติขจร
เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ

2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ

2517 นายสัญญา ธรรมศักดิ์
สามัคคีคือพลัง

2518 นายสัญญา ธรรมศักดิ์
เด็กคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจ ร่วมพลังสร้างความดี

2519 ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรืองจะต้องทำตัวให้ดี มีวินัยเสียแต่บัดนี้

2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย

2521 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง

2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
เด็กไทยคือหัวใจของชาติ

2523 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์
ขยัน อดทน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

2524 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
มีวินัยใจซื่อสัตย์ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม

2525 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
ขยัน ศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย

2526 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย และคุณธรรม

2527 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดี มีความคิด สุจริต ใจมั่น หมั่นศึกษา

2528 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม

2529 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย ใช้ประหยัด ใจซื่อสัตย์ ถือคุณธรรม

2530 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย ใช้ประหยัด ใจซื่อสัตย์ ถือคุณธรรม

2531 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
นิยมไทย ใช้ประหยัด ใจซื่อสัตย์ ถือคุณธรรม

2532 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจซื่อสัตย์ ถือคุณธรรม

2533 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจซื่อสัตย์ ถือคุณธรรม

2534 นายอานันท์ ปันยารชุน
รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา

2535 นายอานันท์ ปันยารชุน
สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม

2536 นายชวน หลีกภัย
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

2537 นายชวน หลีกภัย
ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

2538 นายชวน หลีกภัย
สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม

2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา
มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด

2540 พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด

2541 นายชวน หลีกภัย
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

2542 นายชวน หลีกภัย
ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย

2543 นายชวน หลีกภัย มีวินัย
ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

2544 นายชวน หลีกภัย
มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย

2545 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคต ที่สดใส

2546 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี

2547 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดี ๆ อนาคตดีแน่นอน

2548 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เด็กรุ่นใหม่ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด

2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด

2550 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
"มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข"

2551 พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
"สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม"

พระเจ้าพี่นางเธอฯ สิ้นพระชนม์


แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่องสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สิ้นพระชนม์

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้เสด็จประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2550 ตามที่สำนักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็นระยะแล้วนั้น

แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ พระอาการประชวรได้ทรุดตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 2 นาฬิกา 54 นาที วันที่ 2 มกราคม 2551 รวมพระชันษา 84 ปี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สำนักพระราชวังจัดการพระศพ ถวายพระเกียริตยศสูงสุดตามพระราชประเพณี ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งดุสิตประสาท ในพระบรมมหาราชวัง

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทในราชสำนักไว้ทุกข์ถวายมีกำหนด 100 วัน ตั้งแต่วันสิ้นพระชนม์เป็นต้นไป

อนึ่ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายน้ำสรงพระศพฉายาลักษณ์ ซึ่งประดิษฐ์ ณ ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่เวลา 13 นาฬิกา ถึงเวลา 16 นาฬิกา วันพุธที่ 2 มกราคม 2551

สำนักพระราชวัง
2 มกราคม พุทธศักราช 2551

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย

วันขึ้นปีใหม่



--------------------------------------------------------------------------------

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการฉลองเทศกาลตลอดทั้งปี ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธและพราหมณ์ กาลเวลาผ่านไป เทศกาลต่าง ๆ ก็ถูกดัดแปลงให้สอดคล้องกับสากลนิยม

ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทย โบราณมาเราถือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต้องด้วยพระพุทธศาสนา ถือเหมันตฤดูเป็นการเริ่มต้นปี สมัยโบราณวันขึ้นปีใหม่ ถือคติพราหมณ์ ใช้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ และเป็นเช่นนั้นตลอดมา จนกระทั่งปี พ.ศ.2432 แห่งรัชกาลที่ 5 จึงเปลี่ยนมาเป็นวันที่ 1 เมษายน ทั้งนี้เนื่องจากทางราชการนิยมใช้หลักสุริยคติ แต่ยังคล้องตามคติพราหมณ์อยู่นั่นเอง เพราะเดือน 5 ก็ตรงกับเดือนเมษายนเรื่อยมา

ต่อมาทางราชการประกาศเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใหม่ เนื่องจากมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติปฏิทิน พ.ศ.2483 และเริ่มใช้เมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ.2483 รัฐบาลจึงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

ดังนั้น ในปี พ.ศ.2483 จึงมีเพียง 9 เดือนเท่านั้น คือเดือนเมษายน ถึงเดือนธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินสากล ประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2483 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

การใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้ในนานาประเทศที่เจริญแล้วทั่วโลก แต่ก็ไม่สำคัญเท่าที่เราได้ฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีไทยแต่โบราณกาล ซึ่งเราได้ละทิ้งเสียโดยอิทธิพลของพราหมณ์กลับมาใช้ใหม่

การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ย่อมเป็นเกียรติแก่ประเทศไทย ทั้งในส่วนเกี่ยวข้องกับชาติของเราเอง และทางสัมพันธ์กับชาติที่เจริญแล้วทั้งหลาย ไทยจึงถือวันที่ 1 มกราคม ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยจวบจนทุกวันนี้

แม้ว่าวันที่ 1 มกราคม จะถือปฏิบัติเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยด้วยเช่นกัน

ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนชาวไทยจะมีงานรื่นเริง และมหรสพ ตั้งแต่คืนวันที่ 31 ธันวาคม จนถึงวันที่ 1 มกราคม มีการจัดกิจกรรมร่วมนับถอยหลัง เพื่อก้าวสู่วันใหม่ มีการแลกบัตรอวยพรและของขวัญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพรปีใหม่แก่ประชาชน สมเด็จพระสังฆราชประทานพรปีใหม่แก่พุทธศาสนิกชน และบุคคลสำคัญ ในช่วงเช้าของวันที่ มกราคม ประชาชนก็จะทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา เยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่รับพร และอวยพรซึ่งกันและกันเพื่อความสุขความเจริญ มีการจัดกิจกรรมเพื่อการกุศลที่จัดให้มีขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ในขณะเดียวกัน หลายๆ บริษัทก็จะถือเอาโอกาสนี้แจกโบนัสและประกาศเลื่อนขั้นพนักงาน

จะเห็นได้ชัดว่า คนไทยจะฉลองวันขึ้นปีใหม่ 3 ครั้งต่อปีเลยก็ว่าได้ กล่าวคือ วันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีหรือวันสงกรานต์ วันที่ 1 มกราคม และวันตรุษจีน ใน 3 วันนี้ วันสงกรานต์เป็นโอกาสที่สนุกสนานที่สุด เพราะว่าประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างพร้อมใจกันเข้าร่วมฉลองเป็นเวลานับสัปดาห์ ในขณะที่วันตรุษจีนก็มีความสำคัญเท่า ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนไทยเชื้อสายจีน ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่วันหยุดของทางราชการ บริษัทเอกชนส่วนใหญ่ก็จะหยุดดำเนินธุรกิจเป็นเวลาหลายวัน เพื่อให้ทั้งนายจ้างและพนักงานได้เข้าร่วมฉลองโอกาสอันเป็นมงคลนี้ร่วมกับญาติ ๆ ที่บ้านหรือไม่ก็ใช้วันหยุดตามสถานที่ที่ตนพอใจ

ส.ค.ส. พระราชทาน พ.ศ.2551


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน ส.ค.ส. พ.ศ.2551 แก่ปวงชนชาวไทย ซึ่ง ส.ค.ส.พระราชทานในปีนี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุดปกติขาว ประทับฉายพระรูปกับคุณทองแดง สุวรรณชาด และเหลน จำนวน 4 สุนัข ซึ่งพระราชทานชื่อว่า กันนิ ราชปาลยัม จิปปิปะไร และคอมไบ ตามชื่อพันธุ์สุนัขของอินเดียที่ใช้เป็นแบบปั้นรูปสุนัขซึ่งเป็นบริวารของพระตรีมูรติ

ส.ค.ส.พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีพุทธศักราช 2551 นี้ เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุดปกติขาวประทับฉายพระรูปกับคุณทองแดง สุวรรณชาดและเหลน จำนวน 4 สุนัข ซึ่งพระราชทานชื่อว่า กันนิ ราชปาลยัม จิปปิปะไร และคอมไบ ตามชื่อพันธุ์สุนัขของอินเดีย ที่ใช้เป็นแบบปั้นรูปสุนัข ซึ่งเป็นบริวารของพระตรีมูรติ คือ กันนิ เพศเมียนั่งบนพระเพลา ราชปาลยัม เพศเมียยืนด้านขวา จิปปิปะไร เพศผู้ นั่งด้านหน้าใกล้พระบาทขวา และคอมไบเพศเมีย ยืนด้านซ้าย

ด้านล่างมีข้อความเป็นตัวหนังสือสีเหลืองว่า สวัสดีปีใหม่ ขอจงมีความสุขความเจริญ และมีตัวเลขสีแดง 2007 12 21 และเวลา 16:52 โดยมุมบนซ้ายมีตราสัญลักษณ์ 2 ตรา คือ ตราพระมหาพิชัยมงกุฎ และผอบทอง ใต้ลงมามีข้อความ ส.ค.ส. 2551 ส่วนมุมบนด้านขวามีตัวหนังสือสีเหลืองว่า Happy New Year 2008 และตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

กรอบของ ส.ค.ส.พระราชทานฉบับนี้เป็นภาพใบหน้าคนเล็กๆ เรียงกันด้านละ 2 แถว รวม 373 หน้าที่หน้ามีแต่รอยยิ้ม ในกรอบด้านล่าง มีข้อความ ก.ส. 9 ปรุง 23 20 10 ธ.ค. 50 พิมพ์ที่โรงพิมพ์สุวรรณชาด ท.พรหมบุตร ผู้พิมพ์โฆษณา Printed at the Suvarnnachad publishing , D.Bramaputra , Publisher

ทั้งนี้ ในระหว่างที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพรปีใหม่ และ ส.ค.ส.พระราชทาน ปี 2551 แก่ปวงชนชาวไทยนั้น คุณทองแดง สุวรรณชาด ได้หมอบเฝ้าอยู่แทบพระบาทตลอดเวลา

๐๒ มกราคม ๒๕๕๑

อบรมหลักสูตร"วิทยากรการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี"











เมื่อวันที่ 24-27 ธันวาคม 2550 ครูของโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา จำนวน 3 คนได้แก่ ครูบุญสม อะละมาลา ครูนิคม เรืองกูล และครูรัชนี ค่ายหนองสวง ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรวิทยากรการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ณ โรงแรม เอส ดี อเวนิว กรุงเทพฯ จัดโดย สำนักสันติและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีวิทยากรผู้ให้การอบรมได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธี และธรรมาภิบาลสถาบันพระปกเกล้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายนพพร โพธิรังสิยากร ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ อาจารย์รัตนาภรณ์ วัฒนศัพท์ และ อาจารย์นุชนารถวัฒนศัพท์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในพิธีปิดการอบรมได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการมามอบใบเกียรติบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรมและกล่าวปิดการอบรมตาม โครงการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในโรงเรียนและพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถานศึกษา