ในปี พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และประชาชน กรรมการอำนวยการคุรุสภา กิตติมศักดิ์ ในสมัยนั้นได้กล่าวคำ ปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศ และได้เสนอแนะว่า เนื่องจากครูเป็นผู้มีบุญคุณและเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ครูจึงควรมีสักวัน ในวันหนึ่งสำหรับได้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหาย ได้มีโอกาสแสดงความเคารพสักการะ จะเห็นว่าในวันสำคัญอื่นๆ เช่น วันปีใหม่ และวันสงกรานต์ พวกเราก็จะแสดงความเคารพสักการะต่อญาติๆ ทั้งที่มีชีวิตอยู่และที่เสียชีวิตไปแล้ว และยังกาทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้วอีกด้วย และเนื่องจากครูของเรามีบทบาทสำคัญถัดจากบิดามารดา ข้าพเจ้าจึงใครที่เสนอความคิดนี้ต่อประชุมนี้และขอร้องให้พวกท่านไปพิจารณาในหลักการ หวังว่าทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง
จากแนวความคิดนี้กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชน ล้วนเรียกร้องให้มีวันครู เพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ที่ประชุมคุรุสภาให้มีวันครู เพื่อที่จะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันที่ 16 มกราคมของทุกๆปี เป็น "วันครู" และการจัดงานวันครู ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 และให้ดำเนินเรื่อยมาทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นมา โดยจัดให้มีขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรมหลักในวันนั้นประกอบด้วย
- พิธีกรรมทางศาสนา
- พิธีรำลึกถึงพระครูบูรพาจารย์
- กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู
เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อครู พวกเราจึงขออวยพรให้ท่านและครอบครัวของท่านมีความสุข ความเจริญ และมีสุขภาพแข็งแรง ตราบชั่วอายุไขอันยาวนาน
บทสวดเคารพครูอาจารย์
(สวดนำ) ปาเจราจริยาโหนฺติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญฺญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ
(สวดทำนองสรภัญญะ)
(สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์
โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม (กราบ)