๒๗ กันยายน ๒๕๕๐

ฟุตบอลกีฬายอดนิยม


กติกาฟุตบอล
สนาม
1. ขนาดสนาม ต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขาว 110 – 120 หลา กว้าง 70 – 80 หลา
2. การเขียนเส้น ส่วนกว้างของเส้นไม่เกิน 5 นิ้ว ซึ่งประกอบด้วยเส้นข้าง เส้นประตู ธงมุมทั้งสี่ยอดมน ยาว 5 ฟุต และเส้นแบ่งแดนจุดศูนย์กลาง เขียนวงกลมรัศมี 10 หลา
3. เขตประตู คือจากเสาประตูออกไปข้างละ 6 หลา และตั้งฉากกับเส้นประตูเข้าไปในเขตโทษ 6 หลา
4. เขตโทษ คือ จากเสาประตูทั้งสองออกไปข้างละ 18 หลา และตั้งฉากกับเส้นประตูเข้าไปในสนาม 18 หลา และจากจุดกึ่งกลางของเส้นประตูเข้าไปในเขตโทษระยะ 12 หลา เป็นจุดเตะโทษและเขตโค้งวงกลมรัศมี 10 หลา นอกเขตโทษ (เส้นผ่าศูนย์กลางจุดโทษ 9 นิ้ว)
5.เขตมุม มุมสนามแต่ละแห่งเป็นจุดกลางเขียนโค้ง ผ ของวงกลม รัศมี 1 หลา
6.ประตูประกอบด้วยเสา 2 ต้น คาน 1 คาน ถ้าวัดภายในยาว 8 หลา สูง 8 ฟุต และความหนาไม่เกิน 5 นิ้ว บนเส้นประตูห่างจากมุมทั้งสองเท่ากัน
ลูกบอล
1. ลูกบอลต้องกลม เปลือกนอกทำด้วยหนังหรือวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น
2. วัดรอบลูกบอลได้ 27 – 28 นิ้ว
3. น้ำหนัก 396 – 453 กรัม
จำนวนผู้เล่น
1. ต้องมีผู้เล่น 2 ชุด ๆ ละไม่เกิน 11 คน และไม่น้อยกว่า 7 คน และมีผู้เล่นคนหนึ่งเป็นประตู
2. การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะเปลี่ยนได้ 2 คน อย่างมากไม่ควรเปลี่ยนตัวเกิน 5 คน แต่ขึ้นอยู่กับข้อตกลง
3. การเปลี่ยนตัวจะเปลี่ยนได้เมื่อลูกตาย และต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินก่อน
4. สำหรับผู้รักษาประตูจะเปลี่ยนตัวเป็นผู้เล่นในสนาม ต้องแจ้งให้ผู้ตัดสินทราบเมื่อลูกตาย
5. ถ้าผิดกติกาการเปลี่ยนตัวต้องเตะโทษ 2 จังหวะ ณ ที่ลูกบอลอยู่ขณะที่ผู้ตัดสินเป่านกหวีดหยุด และจะต้องถูกคาดโทษด้วย
อุปกรณ์ของผู้เล่น
1.(ก) อุปกรณ์ของผู้เล่นมีดังต่อไปนี้ คือ เสื้อยืด หรือเสื้อเชิ้ต กางเกงขาสั้น ถุงเท้ายาว สนับแข้ง และรองเท้า
2.(ข) ผู้เล่นจะต้องไม่สวมสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จะเป็นอันตรายต้อผู้เล่นคนอื่น ๆ
3. สนับแข้งจะต้องใส่ภายในถุงเท้ายาว และคลุมอย่างมิดชิด ซึ่งสนับแข้งจะต้องทำด้วยยางพลาสติก หรือสารสังเคราะห์ที่คล้ายคลึงกัน และสามารถป้องกันได้
4. ผู้รักษาประตูจะต้องสวมเสื้อที่มีสีแตกต่างจากผู้เล่นคนอื่น ๆ รวมทั้งผู้ตัดสินอย่างเห็นได้ชัดเจน
ผู้ตัดสิน
1.ผู้ตัดสินต้องได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในการแข่งขันแต่ละครั้ง ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกติกาการแข่งขันทันทีที่เข้าสนามแข่งขัน และขณะพักการเล่นชั่วคราว ลูกตายหรือระงับการลงโทษ
2. ตัดสินใจสั่งหยุดการเล่นชั่วคราว ตัดสินใจเตือน คาดโทษ และไล่ออก
3. บันทึกการเล่น รักษาเวลา ชดเชยเวลาเนื่องจากอุบัติเหตุ หรือเหตุอื่น ๆ และให้สัญญาณต่าง ๆ
4. เป็นผู้อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าไปในสนามได้
5. เป็นผู้ชี้ขาดเรื่องลูกฟุตบอลในการแข่งขัน
ผู้กำกับเส้น
1. ผู้กำกับเส้นทั้งสองคนต้องได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ (การตัดสินเด็ดขาดอยู่ที่ผู้ตัดสิน)
2. เป็นผู้แจ้งว่าฝ่ายใดมีสิทธิ์จะได้เตะมุม เตะจากประตู หรือทุ่มลูก
3. ช่วยเหลือผู้ตัดสินและควบคุมการเล่นให้เป็นไปตามกติกา (ผู้ตัดสินสามารถสั่งเปลี่ยนผู้กำกับเส้นได้)
4. ต้องใช้ธงของเจ้าของสนามที่จัดแข่งขัน
ระยะเวลาการเล่น
ระยะเวลาการเล่นแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนละ 45 นาที และหยุดพักระหว่างครึ่งไม่เกิน 5 นาที (ยกเว้นตกลงเป็นอย่างอื่น)
การเริ่มเล่น
1. ผู้ตัดสินเป็นผู้เสี่ยงโยนหัวโยนก้อย ผู้ชนะในการเสี่ยงจะมีสิทธิ์เลือกเตะเริ่มเล่นหรือเลือกข้าง
2. เมื่อผู้ตัดสินให้สัญญาณเริ่มเล่นแล้ว ผู้เล่นคนหนึ่งจะต้องเตะลูกบอลซึ่งตั้งอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของสนามเข้าไปในแดนคู่ต่อสู้ไม่น้อยกว่า 1รอบของลูกบอล และห้ามเล่นลูกบอลซ้ำจนกว่าจะถูกผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน หรือฝ่ายตรงข้ามก่อนจึงจะเล่นต่อไปได้
3.ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างลูกบอลไม่น้อยกว่า 10 หลา ขณะเตะเริ่มเล่น
4.เมื่อได้ประตูต้องเริ่มเล่นใหม่ในทำนองเดียวกัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายเสียประตูเป็นผู้เตะเริ่มเล่น
5.เมื่อเริ่มครึ่งเวลาหลังต้องตั้งต้นเริ่มเล่นใหม่ โดยฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ได้เตะเริ่มเล่นในครึ่งเวลาแรก
ลูกตายและลูกไม่ตาย
ลูกตาย คือ ลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างออกไปนอกสนามหมดทั้งลูก ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศ หรือเมื่อผู้ตัดสินสั่งให้หยุดการเล่น
ลูกไม่ตายนับตั้งแต่ได้เริ่มการเลนจนเลิกเล่น รวมทั้งกรณีที่ลูกบอลกระดอนจากเสาหรือคานประตู หรือมุมธงเข้ามาในสนาม หรือลูกบอลถูกผู้ตัดสิน ผู้กำกับเส้น ซึ่งอยู่ในสนาม และรวมถึงกรณีที่เข้าใจว่าทำผิดกติกาก็ต้องเล่นต่อไปจนกว่าจะมีการตัดสิน
การนับประตู
1. เมื่อลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูเข้าไปในระหว่างเสาประตูทั้งสองข้าง และภายใต้คานประตูหมดทั้งลูก โดยผู้เล่นฝ่ายรุกไม่ได้ขว้าง หรือใช้มือ หรือแขนทำให้ลูกบอลนั้นเข้าประตู นอกจากผู้รักษาประตูซึ่งอยู่ภายในเขตโทษของตน
2. เมื่อเสร็จการเล่นแล้ว ฝ่ายใดได้ประตูมากกว่าเป็นฝ่ายชนะ ถ้าประตูเท่ากันจะเสมอกัน
การล้ำหน้า

ผู้เล่นจะล้ำหน้า ถ้าล่วงหน้าลูกบอลเข้าไปใกล้ประตูของคู่ต่อสู้ นอกจาก ผู้ล้ำหน้านั้นอยู่ในแดนของตน มีคู่ต่อสู้สองคนอยู่ใกล้เส้นประตูของเขามากกว่าที่ตนอยู่ ครั้งสุดท้ายฝ่ายู่ตอสู้เป็นผู้ถูกลูกบอลนั้น หรือตนเป็นผู้เล่นลูกบอลนั้นเอง ผู้ล้ำหน้าได้รับลูกบอลโดยตรงจากการเตะจากประตู เตะจากมุม ลูกทุ่ม หรือลูกบอลที่ผู้ตัดสินทุ่ม (Drop Ball)
การเล่นที่ผิดกติกาและเสียมารยาท
1 ผู้เล่นคนใดเจตนากระทำผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 9 ข้อ จะถูกเตะโทษจังหวะเดียวโดยฝ่ายตรงข้าม และถ้าเกิดในเขตโทษจะต้องเตะโทษ ณ จุดโทษ ดังนี้
1.เตะ หรือพยายามเตะคู่ต่อสู้
2.ขัดขาคู่ต่อสู้ คือทำหรือพยายามทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงด้วยการใช้ขา หรือด้วยการหมอบลงข้างหน้าหรือข้างหลัง
3.กระโดดเข้าหาคู่ต่อสู้
4. ชนคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง หรือน่าหวาดเสียว
5. ชนคู่ต่อสู้ข้างหลัง นอกจากคู่ต่อสู้นั้นเจตนากีดกัน
6.ทำร้ายหรือพยายามจะทำร้ายคู่ต่อสู้

7. ฉุดหรือดึงคู่ต่อสู้
8. ผลักหรือดันคู่ต่อสู้
9. เล่นลูกด้วยมือ คือ ทุบ ต่อย ปัด เดาะลูกด้วยมือหรือแขน
2 ผู้เล่นคนใดกระทำผิดนอกเหนือดังกล่าวในข้อ 1 ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษ 2 จังหวะ
การเตะโทษ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. การเตะโทษโดยตรง (จังหวะเดียว) เป็นการเตะครั้งเดียวลูกบอลเข้าประตูฝ่ายตรงข้าม โดยที่ลูกบอลไม่ถูกผู้ใดก็นับว่าได้ประตู
2. การเตะโทษโดยอ้อม (2 จังหวะ) เป็นการเตะครั้งเดียวลูกบอลเข้าประตูของฝ่ายตรงข้ามไม่นับว่าได้ประตู เว้นแต่ลูกบอลได้ถูกผู้เล่นคนใดคนหนึ่งนอกจากผู้เตะก่อนจะเข้าประตู ขณะเตะโทษผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามอยู่ห่างลูกบอลไม่น้อยกว่า 10 หลา
การเตะ ณ จุดโทษ
1. จะต้องเตะ ณ จุดโทษ และผู้เล่นทุกคนนอกจากผู้เตะและผู้รักษาประตูของฝ่ายรับต้องอยู่ในสนาม แต่นอกเขตโทษ และห่างจากจุดโทษอย่างน้อย 10 หลา
2. ผู้รักษาประตูฝ่ายรับต้องยืนให้เท้าทั้งสองไม่เคลื่อนที่บนเส้นประตูระหว่างเสาประตูของตนจนกว่าผู้เตะได้เตะลูกบอลแล้ว
3. ผู้เตะต้องเตะไปข้างหน้า และจะเล่นลูกบอลครั้งที่ 2 ไม่ได้จนกว่าจะถูกผู้เล่นคนอื่นก่อน และลูกบอลจะต้องกลิ้งไปไม่น้อยกว่า 1 รอบ ลูกบอลจึงจะสมบูรณ์
4. ขณะจะทำการเตะโทษแล้วหมดเวลาการแข่งขัน ต้องเพิ่มเวลาสำหรับการเตะโทษ ณ จุดโทษ (ซ้ำไม่ได้)
กรณีละเมิดกติกาข้อนี้
1. ถ้าผู้เล่นฝ่ายรับละเมิดกติกา ให้เตะใหม่หากครั้งแรกเตะลูกบอลไม่เข้าประตู
2. ถ้าผู้เล่นฝ่ายรุกละเมิดกติกา นอกกจากผู้เตะครั้งแรกลูกบอลเข้าประตูก็ให้เตะใหม่
3. ถ้าผู้เตะโทษ ณ จุดเตะโทษกระทำผิดหลังจากลูกบอลอยู่ในการเล่นแล้ว ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะลูกโทษ 2 จังหวะ ณ ที่ซึ่งการละเมิดกติกาได้เกิดขึ้น
การทุ่ม
1. เมื่อลูกบอลได้ออกนอกสนามหรือลอยในอากาศก็ตาม ให้ทำการทุ่ม ณ ที่ซึ่งลูกบอลนั้นได้ผ่านเส้นข้างออกไป
2. ห้ามยกเท้าในขณะทุ่ม
3. ต้องหันหน้าเข้าสู่สนามในทิศทางที่จะทุ่ม
4. มือทั้งสองต้องปล่อยลูกบอลพร้อมกัน
5. ห้ามล้ำเส้น (เหยียบเส้นได้แต่ห้ามเปิดเท้าเกิดช่องว่างในสนาม)
6. ขณะทุ่มลูกบอลต้อยอยู่เหนือศรีษะและผ่านมาจากท้ายทอย ถ้าทุ่มผิดกติกาให้ฝ่ายตรงข้ามได้ทุ่ม
การเตะจากประตู
เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านเข้าระหว่างเสาประตูทั้งสองภายใต้คานประตู ไม่ว่าจะกลิ้งหรือลอยไปในอากาศก็ตาม ฝ่ายรับจะได้ตั้งเตะภายในเขตประตูตรงจุดใดก็ได้
1. ต้องเตะลูกบอลครั้งเดียวให้ออกนอกเขตโทษ ห้ามส่งให้ผู้รักษาประตูรับในเขตโทษ
2. เตะลูกบอลครั้งเดียวเข้าประตูฝ่ายตรงข้ามไม่นับว่าได้ประตู
3. ไม่มีการล้ำหน้า
4. ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามห้ามเย้ามาในเขตโทษของผู้ตั้งเตะจากเขตประตู
5. ถ้าผู้เล่นเตะลูกบอลตั้งเตะออกหลังเส้นประตูนอกเขตโทษตนเอง ให้ตั้งเตะใหม่
6. ถ้าผู้เตะลูกบอลตั้งเตะออกหลังเส้นประตูนอกเขตโทษของตนเอง ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะจากมุม
การเตะจากมุม
เมื่อลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูไปนอกเขตสนาม โดยที่ฝ่ายรับเป็นผู้ถูกลูกบอลนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นดินหรือลอยในอากาศ นอกจากเข้าไปในประตู
1. ให้ฝ่ายรุกนำลูกบอลไปเตะในเขตมุม ณ มุมธงใกล้กับที่ลูกบอลออกไป
2. ห้ามทำให้เสาธงเคลื่อนที่
3. ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ห่างผู้เตะไม่น้อยกว่า 10 หลา
4. ถ้าเตะลูกบอลครั้งเดียวเข้าประตู ถือว่าได้ประตู
5. เตะลูกบอลไปถูกคานหรือเสาประตูกระดอนกลับมา ห้ามผู้เตะเล่นซ้ำ
6. ผู้เตะจะเล่นลูกบอลซ้ำไม่ได้จนกว่าจะถูกผู้เล่นคนอื่นก่อน


ทีมวิ่ง 31ขา ทบอ.บูรณวิทยา
















นักกีฬา 31 ขา ทบอ.บูรณวิทยา เริ่มฝึกซ้อมแล้ว ทุกวันในโรงพลศึกษาและสนามกีฬาโรงเรียน ช่วงเช้า ถึง 8.30น. ช่วงบ่ายตั้งแต่ เวลา15.00นถึง16.00น คณะครู และนักเรียนไปเยียมชมการฝึกซ้อม ให้กำลังใจได้นะคะ

ทบอ. รวมใจเป็นหนึ่ง เข้าวิ่ง31ขาปี 3


โรงเรียน ทบอ.บูรณวิทยาเข้าร่วมโครงการ สพฐ.ฮอนด้า วิ่ง31ขาสามัคคี ปี3
เงื่อนไขปฏิบัติ ภายหลังจากการรับอุปกรณ์กีฬา วิ่ง 31 ขา
1. ทางโรงเรียนจะต้องนำอุปกรณ์กีฬา วิ่ง 31 ขา ที่ได้รับไปทำการศึกษา ทดลองเล่น และฝึกซ้อมอย่าง เป็นรูปธรรม
2. ทางโรงเรียนต้องให้ความร่วมมือในการติดตามผลการฝึกซ้อมของทีมตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ โดย การติดตามผลทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะกระทำผ่านทางโทรศัพท์
3. ทางโรงเรียนต้องให้ความร่วมมือในการส่งภาพการฝึกซ้อมเข้าร่วมใน โครงการประกวดภาพถ่าย* อย่างน้อย 1 หัวข้อภาพ (ศึกษาได้จากเอกสารรายละเอียดโครงการประกวดภาพถ่าย)

การติดตามผลการฝึกซ้อมของทีมโรงเรียน มีกำหนดการ ดังนี้
ครั้งที่ 1
วันที่ 3 - 7 กันยายน 2550
ครั้งที่ 2 วันที่ 10 - 14 กันยายน 2550
โดยวิธีการติดตามผลการฝึกซ้อม ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะจัดเจ้าหน้าที่เพื่อโทรไปสอบถาม ข้อมูลการฝึกซ้อมของทีมโรงเรียนทางโทรศัพท์ตามช่วงเวลาดังกล่าว
การคัดเลือกทีมเข้าสู่การแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค
ในการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ได้กำหนดจำนวน ของทีมโรงเรียนที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในรอบนี้ไว้ 200 ทีม จากโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับอุปกรณ์กีฬาทั่ว ประเทศ 1,000 ทีม โดยในการคัดเลือกทีมโรงเรียนเพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบนี้แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. ทีมโรงเรียนที่ต้องการขอรับงบประมาณสนับสนุนในการเข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค โควตา 180 ทีมโรงเรียน ทั่วประเทศ
2. ทีมโรงเรียนที่ไม่ต้องการขอรับงบประมาณสนับสนุน โควตา 20 ทีมโรงเรียนทั่วประเทศ
1. ทีมโรงเรียนที่ต้องการขอรับงบประมาณสนับสนุนในการเข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค โควตา 180 ทีมโรงเรี่ยน ทั่วประเทศ
เนื่องด้วยการจัดการแข่งขัน “สพฐ.– ฮอนด้า วิ่ง 31 ขา สามัคคี ปี 3” นี้ ทางสำนักคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดเตรียมงบประมาณเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับ ภูมิภาคให้กับทีมตัวแทนจังหวัด ซึ่งทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้กำหนดให้มีทีมตัวแทนจังหวัดเพื่อเข้าร่วม การแข่งขันจากการคัดเลือกในกลุ่มนี้ ดังนี้
ต่างจังหวัด 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพฯ) โควตาทีมตัวแทนจังหวัด จังหวัดละ 2 ทีม

การคัดเลือกทีมตัวแทนจังหวัด
ทีมโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้รับอุปกรณ์กีฬา จำนวน 1,000 โรงเรียน มีสิทธิ์ยื่นความประสงค์ขอเป็น ตัวแทนจังหวัดเพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน และรับงบประมาณสนับสนุน และทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกทีมตัวแทนจังหวัด ดังนี้
1. เป็นทีมโรงเรียนที่มีความประสงค์เข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค โดยทางโรงเรียน ต้องแจ้งความประสงค์นี้ให้กับทางเจ้าหน้าที่ผู้ติดตามผลการฝึกซ้อมของทีมโรงเรียน ซึ่งทาง เจ้าหน้าที่จะทำการสอบถามความประสงค์นี้จากทางโรงเรียนในช่วงของการติดตามผล
2. เป็นทีมโรงเรียนที่ผ่านเงื่อนไขปฏิบัติหลังการรับอุปกรณ์กีฬา ครบถ้วน
(ผ่านการติดตามผลครบทั้ง 3 ครั้ง และได้ส่งภาพเข้าร่วมประกวดกับทางโครงการแล้ว)
วิธีการคัดเลือกทีม
ต่างจังหวัด 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพฯ)

1. ทาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 (สพท.) ทุกจังหวัด จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการ ทดสอบผลการวิ่งของทีมโรงเรียน เพื่อตรวจสอบว่าผลเป็นไปตามข้อมูลที่ได้ให้มาในช่วง ของการติดตามผลการฝึกซ้อมหรือไม่ และบันทึกข้อมูลในครั้งนั้นไว้เพื่อการพิจารณา คัดเลือกทีม

2. ผลจากการทดสอบในครั้งนั้น จะถูกนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับผลของทีมโรงเรียน อื่นๆ ทั้งหมดในจังหวัดเดียวกัน
3. ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันจะทำการคัดเลือกเอาทีมที่มีผลการทดสอบที่ดีที่สุด จำนวน 2 ทีม เพื่อเป็นตัวแทนจังหวัด
ผลการคัดเลือกทีมตัวแทนจังหวัด (จากกลุ่มโรงเรียนที่ขอรับงบประมาณสนับสนุน)
ในการคัดเลือกทีมตัวแทนจังหวัดของกลุ่มนี้ จะได้โรงเรียนที่เป็นตัวแทนจังหวัดจากทั่วประเทศดังนี้
ทีมตัวแทนจากต่างจังหวัด 75 จังหวัด จังหวัดละ 2 ทีม รวม 150 ทีม
ทีมตัวแทนจากจังหวัดกรุงเทพฯ รวม 30 ทีม
รวมทั้งสิ้น 180 ทีม
วิธีการคัดเลือกทีม
ต่างจังหวัด 75 จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพฯ)
ทาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 (สพท.) ทุกจังหวัด จะจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการ ทดสอบผลการวิ่งของทีมโรงเรียน เพื่อตรวจสอบว่าผลเป็นไปตามข้อมูลที่ได้ให้มาในช่วง ของการติดตามผลการฝึกซ้อมหรือไม่ และบันทึกข้อมูลในครั้งนั้นไว้เพื่อการพิจารณา คัดเลือกทีม
ดังนั้น จะมีทีมโรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาคจาก 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มโรงเรียนที่ได้งบประมาณจากทาง สพฐ.
1.1 ตัวแทนจังหวัด 75 จังหวัด จังหวัดละ 2 ทีม รวม 150 ทีม
1.2 ตัวแทนจังหวัดกรุงเทพฯ รวม 30 ทีม
2. กลุ่มโรงเรียนที่ไม่ได้รับงบประมาณ จาก สพฐ. รวม 20 ทีม
รวมจำนวนโรงเรียนที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค 200 ทีม
การจัดการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค 6 สนาม
การจัดการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค ได้มีการกำหนดให้จัดขึ้นในจังหวัดที่เป็นศูนย์กลางสำหรับ การเดินทางในแต่ละภาค (ซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลังจากที่ได้รายชื่อโรงเรียนที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันในแต่ละ ภาคแล้ว ) จะจัดขึ้นทั้งหมด 5 ภาค 5 สนาม และอีก 1 สนาม จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เพื่อทำการแข่งขันคัดเลือก เฉพาะทีมโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯ โดยโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ จะเข้าทำการแข่งขัน ในสนามตามภูมิภาคที่จังหวัดของตนตั้งอยู่
สนามที่ 3 ภาคกลาง 1 (ฝั่งตะวันตก) 13 จังหวัด
กาญจนบุรี ชัยนาท นครนายก นครสวรรค์ ราชบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี สระบุรี ลพบุรี อยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี ปราจีนบุรี
โดยทางคณะกรรมการจัดการแข่งขัน จะดำเนินการจัดส่งเอกสารรายละเอียด วัน เวลา และสถานที่ในการ จัดการแข่งขัน ให้กับทีมโรงเรียนประถมศึกษาที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันภายหลังจากการประกาศผลรายชื่อทีมที่เข้า ร่วมการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค อย่างเป็นทางการ อีกครั้ง ภายในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ผลการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ได้กำหนดโควตาจำนวนทีมที่จะสามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงแชมป์ประเทศ ไทยไว้ 30 ทีม จากทั่วประเทศ โดยจะคัดเลือกเอาทีมที่ทำเวลาในการแข่งขันได้ดีที่สุดในแต่ละสนาม ดังนี้
ภาคเหนือ จำนวน 5 ทีม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 5 ทีม
ภาคกลาง 1 จำนวน 5 ทีม
ภาคกลาง 2 จำนวน 5 ทีม
ภาคใต้ จำนวน 5 ทีม
กรุงเทพฯ จำนวน 5 ทีม
รวมจำนวนทีมที่ทำเวลาที่ดีที่สุดจากแต่ละสนาม ผ่านเข้าสู่การแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทย จำนวน 30 ทีม
ผลการแข่งขันรอบคัดเลือกระดับภูมิภาค จะทำการแจ้งให้กับทีมโรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด ทราบภายในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550
การสนับสนุนทีมโรงเรียนที่ผ่านเข้ารอบชิงแชมป์ประเทศ 30 ทีม ทีมโรงเรียนที่ทำเวลาดีที่สุดจาก 5 ทีมแต่ละสนามในการแข่งขันรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค รวม 30 ทีม จะได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทางสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการ เข้าร่วมการแข่งขันในรอบชิงแชมป์ประเทศไทย ที่กรุงเทพฯ โดยรายละเอียดของงบประมาณในส่วนนี้ ทาง คณะกรรมการจัดการแข่งขัน จะทำการแจ้งให้ทั้ง 30 ทีมที่ผ่านเข้ารอบได้ทราบภายหลังจากการประกาศผลการ แข่งขันในรอบคัดเลือก ระดับภูมิภาค อีกครั้ง

(คาดว่าจะแจ้งให้ทราบได้ภายหลังวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 แต่ไม่เกินวันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 )

พลัง 31 ขา สามัคคี











พลัง 31 ขา สามัคคี ทีมโรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ตั้งใจ มุ่งมั่น แน่วแน่ ที่จะไปสู่จุดหมายเดียวกัน ด้วยพลังความรักและสามัคคี เราทำได้ บูรณะสู้ๆๆๆ

๒๖ กันยายน ๒๕๕๐

ประวัติฟุตบอล

ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่นมากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio) มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่ากีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่มีกติการการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอลในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman) พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอวิวัฒนาการของฟุตบอล
ภาคตะวันออกไกล ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ "กังฟู" เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้าและศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล) มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า"ซือ-ซู" (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่องผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ภาคตะวันออกกลาง ในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงครามโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมันและชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิดของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลางในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสองคือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนามของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร- )
ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 - 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนามซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน ห่างกัน 2-3 ฟุตในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบและกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คนในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่นรักษาประตู 2 คน โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423
ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษ และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอนเพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่า Association ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football
ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรปในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435
ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7 เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่ โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมากกีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตามของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)
เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่ มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะในบริเวณที่เคยเป็นสนามรบ และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะของพวกเคนส์ อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจคนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้ คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมากต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่น เทคนิคการเล่น ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่น แต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday) จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมากในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412 ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆ ในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้งสมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484
ในทวีปเอเชีย อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตา เป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435 ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรก ในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่นสมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์ ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปีในแอฟริกา สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้ แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีสการแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกสมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460 เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่การแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ และแคริบเบี้ยน ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ 1. Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น2. America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น3. South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย เป็นต้น4. Asia (A.F.C.)เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน และเนปาล เป็นต้น5. Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ฮังการี อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น6. Oceannir เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาทสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
ในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้น
พ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศพ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกรวมเป็น 35 ประเทศพ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turk
พ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C. และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไปเป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองพ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวันเป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมางานของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
1. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Cup 2. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Youth 3. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก 4. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Pre-Olympic 5. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม World Youth 6. ควบคุมการแข่งขัน Kings Cup, President Cup, Merdeka, Djakarta Cupนอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฟีฟ่าจัดส่งวิทยากรมาช่วยดำเนินการสรุปวิวัฒนาการของฟุตบอล ก่อนคริสตกาล - อ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน และในสมัยวรรณคดีของกรีกและโรมันยุคกลาง - ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส ปี พ.ศ. 1857 - พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอล เพราะจะรบกวนการยิงธนู ปี พ.ศ. 2104 - Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจาการเล่นกาลซิโอในเมืองฟลอเร้นท์ ปี พ.ศ. 2123 -Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติการการเล่นคาลซิโอ ปี พ.ศ. 2223 -ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้ชาร์ลที่ 2 ปี พ.ศ. 2391 -ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2406 -ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น ปี พ.ศ. 2426 -สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการระหว่างชาติ ปี พ.ศ. 2429 -สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน ปี พ.ศ. 2431 -เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ และเพิ่มอำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน ปี พ.ศ. 2432 -สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมันไปเยือนอังกฤษ ปี พ.ศ. 2447 - ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 โดยสมาคมแห่งชาติคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ปี พ.ศ. 2480 - 2481 -ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุม โดยใช้ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง

๒๒ กันยายน ๒๕๕๐

ประวัติกรีฑาในประเทศไทย

การเล่นกรีฑาในประเทศไทยริเริ่มโดยครูฝรั่งชาวอังกฤษนำมาสอนให้นักเรียนไทยได้ฝึกเล่นกันในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วค่อยเจริญแพร่หลายขึ้นหลังปี พ.ศ.2440 เป็นต้นมา
การเล่นกรีฑาเริ่มเป็นทางการขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปและเมื่อเสด็จนิวัติคืนสประเทศไทย ทางราชการโดยมอบหมายให้ กระทรวงธรรมการ ครู นักเรียนรวมถึงประชาชนได้จัดการแข่งขันกรีฑานักเรียนและประชาชน โดยได้จัดขึ้น ณ ท้องสนามหลวง (ทุ่งพระสุเมรุ) เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440 และตั้งแต่นั้นมาก็จัดเป็นประเพณีสืบทอดต่อกันมาโดยตลอด
ปี พ.ศ.2476 รัฐบาลตั้งกรมพลศึกษาขึ้น กรมพลศึกษามีนโยบายส่งเสริมการกีฬาและการกรีฑาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น หลังจากตั้งกรมพลศึกษาขึ้นแล้ว กีฬาและกรีฑาได้ก็รับการสนับสนุนจัดให้มีการแข่งขันหลายประเภท เช่น กรีฑาระหว่างโรงเรียน กรีฑาระหว่างมหาวิทยาลัย และกรีฑาระหว่างประชาชน
ปี พ.ศ. 2494 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ขึ้น มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการแข่งขัน กรีฑาประเภทมหาวิทยาลัยและประชาชนแทนกรมพลศึกษา และในปีนี้เองประเทศไทยก็สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์กรีฑาโลก
ปี พ.ศ. 2504 ได้จัดตั้งองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยขึ้น มีหน้าที่โดยตรงในการส่งเสริมกีฬาประชาชน โดยจัดให้มีการแข่งขันกีฬาทุกๆปีหมุนเวียนกันไปในแต่ละจังหวัด ในการแข่งขันกีฬาเขต (กีฬาแห่งชาติในปัจจุบัน) และถือว่ากรีฑาเป็นกีฬาหลักที่ต้องมีการแข่งขันทุกครั้ง
ปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับสมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทยเข้าอยู่ในพราะบรมราชูปถัมภ์
ปี พ.ศ. 2528 มีการเปลี่ยนชื่อจากองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทยเป็น "กีฬาแห่งประเทศไทย" ประวัติงานกรีฑานักเรียนประจำปี
วันที่ 11 มกราคม ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) เป็นวันที่บรรดานักเรียนในกรุงเทพฯได้กราบบังคมทูลอันเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จฯพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จฯมาในที่ประชมุนักเรียนในกรุงเทพฯ ณ ท้องสนามหลวง เนื่องในวโรกาสที่พระองค์เสด็จกลับมาจากยุโรป ซึ่งต่อมากระทรวงธรรมการ (ศึกษาธิการ) ได้ทำการจัดการแข่งขันเป็นงานประจำปี และจัดควบกันไปในวันเดียวกับวันรับประกาศนียบัตรของนักเรียน
การแข่งขันกรีฑาในสมัยนั้นมีหลายประเภท เช่น วิ่งแข่งขันระยะ 2 เส้นระยะทาง 10 เส้น กระโดดไกลกระโดดสูง แข่งขันจักรยาน ขว้างไกล วิ่งสวมกระสอบ วิ่งสามขา การแข่งขันดังกล่าวประเภทมีเหรียญและหนังสือเป็นรางวัล
ปี พ.ศ. 2444 ได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาที่สนามโรงเลี้ยงเด็กหน้าโรงเรียนสวลี และได้เพิ่มการแสดงฝีมือด้วย ต่อมาการแข่งขันกรีฑานักเรียนได้ว่างเว้นมาหลายปี
ปี พ.ศ. 2447 อธิบดีกรมศึกษาธิการได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาโรเงรียนวันที่ 1 และ 2 มกราคมมีสูจิบัตรสำหรับการแข่งขันด้วยเป็นครั้งแรก โดยแบ่งเป็นวันที่ 1 มกราคม เป็นวันแข่งขันฟุตบอลคู่สุดท้ายที่ท้องสนามหลวง และวันที่ 2 มกราคม เป็นวันแข่งขันกรีฑาโรงเรียนที่สนามโรงเรียนมัธยมราชบูรณะ (โรงเรียนสวนกหลาบในปัจจุบัน) ดังที่กำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลในการแข่งขันดังนี้
เริ่มการแข่งขันเวลาบ่ายโมง การแข่งขันกรีฑาได้แบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
ภาค 1 การแสดงกายบริหารมี โหนราว ไต่บันไดโค้ง หกคะเมนบนม้า หกคะเมนไม้เดี่ยว เล่นห่วง เล่นชิงช้า และจัดแถว
ภาค 2 เป็นการประกวดกำลังมีชักเย่อ กระโดดสูง วิ่งข้ารั้ว วิ่งเก็บของกระโดดไกล วิ่งระยะทาง 2 เส้น วิ่งสวมกระสอบ วิ่งทนระยะทาง 10 เส้น ปิดตาหาทาง วิ่งสามขา และวิ่งวิบาก
ปี พ.ศ. 2463 ได้จัดให้มีการแข่งขันมวยฝรั่งและแสดงวิชามวยไทย
ปี พ.ศ. 2464 ได้จัดให้มีการแสดงวิชาฟันดาบไทย ดาบฝรั่ง
ปี พ.ศ. 2470 กระทรวงธรรมการได้ตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเรียกว่า "กรมการจัดการกีฬาประจำปีของ>กระทรวงธรรมการ" เลือกจากอาจารย์ใหญ่ ครูใหญ่โรงเรียนต่างๆแต่งตั้งเป็นกรรมการเป็นปีๆไป กรรมการคณะที่มีหน้าที่เป็นผู้จัดการกีฬาต่างๆของกระทรวงธรรมการทุกอย่างเฉพาะในจังหวัดพระนครและธนบุรี ส่วนภูมิภาคเป็นหน้าที่ของกรรมการจังหวัด
ปี พ.ศ. 2478 ได้เพิ่มประเภทการแข่งขันกีฬาโรงเรียนให้มีมากขึ้นรวมทั้งเพิ่มสถานที่แข่งขันด้วย ส่วนการแข่งขันกรีฑาประจำปีได้ใช้สนามโรงเรียนหอวัง (กรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบัน) และเพื่อเป็นการควบคุมการแข่งขันและนักกีฬา กรมพลศึกษาได้ออกกฎระเบียบควบคุมมารยาทนักกีฬา โดยมีคณะกรรมการสอดส่องมารยาทนักกีฬาขณะแข่งขัน กับได้วางระเบียบในการให้รางวัลผู้มีฝีมือในการแข่งขัน โดยมีรางวัลเป็นลำดับดังนี้
- เสื้อสามารถ
- หมวกสามารถ
- เข็มสามารถส่วนกรรมการที่มีความรู้ความสามารถในการตัดสินนั้นกรมพลศึกษาได้จัดแหนบให้เป็นเครื่องสมนาคุณ
ปี พ.ศ. 2479 ได้เปิดการแข่งขันกรีฑาขึ้นเป็นครั้งแรกในพระบรมปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้มอบธงกีฬา ธงนำกีฬานักเรียน และธงนำกีฬาประชาชนแก่กรมพลศึกษา การแข่งขันตะกร้อข้ามตาข่าย ก็ได้จัดให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรกในปีนี้
ปี พ.ศ. 2480 ได้จัดให้มีการแข่งขันเป็นปีสุดท้ายที่ท้องสนามหลวง
ปี พ.ศ. 2481 กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาประจำปี ในกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นครั้งแรก ลักษณะของสนามมีอัฒจันทร์ไม้ล้อมรอบหรือที่เรียกว่า "สนาม 1-2" ในการดำเนินการแข่งขันในครั้งนี้ได้จัดสร้างลู่ทางวิ่ง การจับเวลาให้เป็นไปอย่างการแข่งขันกรีฑาสากลนิยมซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดการแข่งขันในกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นครั้งแรกนอกจากนั้นในการแข่งขันบาสเกตบอล ฟุตบอล ตะกร้อ ฯลฯ ซึ่งเคยแยกไปแข่งขันตามสนามโรงเรียนต่างๆนั้น กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันในกรีฑาสถานแห่งชาติทุกประเภท ส่วนการแข่งขันกรีฑานั้นได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาประชาชนหญิงขึ้นเป็นครั้งแรกด้วย
ปี พ.ศ. 2483 ได้เปิดให้มีการแข่งขันหมากรุกฝรั่งขึ้น
ปี พ.ศ. 2484 ทางกรมพลศึกษาได้จัดปรับปรุงสนามแข่งขันด้านต่างๆอีกทั้งยังได้พิจารณาปรับปรุงกติกากรีฑาให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม ทั้งในแง่ของเครื่องมือและการแต่งกายของกรรมการ นับว่าเป็นแบบฉบับที่ดีจนเป็นพื้นฐานที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
ปี พ.ศ. 2485 ได้งดจัดการแข่งขันเนื่องจากมีอุทกภัยครั้งใหญ่ ตุลาคม แต่ก่อนนั้นกระทรวงได้สั่งการใหกรมพลศึกษานำนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆไปแสดงกายบริหารที่ท้องสนามหลวง มีนักเรียนแสดงทั้งหมด 4,000 คน(ในเดือนมิถุนายน)
ปี พ.ศ. 2486 งดจัดการแข่งขันเพราะเกิดภาวะสงครามแต่หน่วยทหารญี่ปุ่นและทหารไทยได้ขอใช้สนามแข่งขันเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีอยู่ เนืองๆและในราวปลายปีก็ให้มีการแข่งขันจักรยาน 2 ล้อทางไกลระหว่างประชาชนจากกรีฑาสถานแห่งชาติถึงตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
ปี พ.ศ.2487 สงครามทวีความรุนแรง ไม่ได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาและกรีฑาใดๆ
ปี พ.ศ. 2488 สงครามสงบ ประเทศญี่ปุ่นแพ้สงคราม กรมพลศึกษาเห็นว่าพอจะดำเนินการแข่งขันกีฬาได้ จึงจัดให้มีการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยขึ้นเป็นครั้งแรก นอกจากนี้สมาคมรักบี้ฯสมาคมฟุตบอลแห่งสยามฯได้เช่าสนามเพื่อจัดการแข่งขันกีฬาประจำปี
ปี พ.ศ. 2489 กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬากรีฑานักเรียนทุกประเภทต่อไปตามเดิม มีนักเรียนให้ความสนใจพอสมควร
การจัดการแข่งขันกรีฑานักเรียนได้ดำเนินการแข่งขันเป็นประจำทุกๆปีติดต่อกัน ส่วนมากจัดการแข่งขันระหว่างเดือนพฤศจิกายน และเดือนธันวาคม
ปี พ.ศ. 2511 มีการแข่งขันกรีฑานักเรียนโดยกรมพลศึกษาได้มีหนังสือถึงจังหวัดต่างๆ เชิญชวนให้จังหวัดจัดส่งนักกีฬาที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนไม่เกิน ม.ศ.- 3 อายุไม่เกิน 20 ปี เป็นการยกระดับการแข่งขันและเป็นการพัฒนาของด้านสถิติด้วย
ปี พ.ศ. 2512 การแข่งขันกรีฑานักเรียนได้จัดพร้อมกับงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ซึ่งเรียกชื่อรวมกันว่างานกรีฑาศิลปหัตถกรรมของนักเรียน
จนถึงปัจจุบันนี้การกีฬาของไทยได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอดและมิอาจจะปฏิเสธได้และว่ากรีฑานักเรียนเป็นส่วนช่วยให้การกีฬาของประเทศไทยมีการเจริญเติบโตขึ้นทัดเทียมประเทศต่างๆจะสังเกตจากการแข่งขันทุกครั้งมีการทำลายสถิติใหม่อยู่เสมอ

๒๑ กันยายน ๒๕๕๐

วิ่ง 31 ขา


ฮอนด้า รวม 30 หัวใจที่กล้า มุ่งหน้าสู่ความเป็นหนึ่งเพราะเราเชื่อว่า สปิริต มีอยู่ในหัวใจของเด็กไทยทุกคน เพราะเราเชื่อว่า ความท้าทาย เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาและเราเชื่อว่าการให้โอกาสเด็กไทยทุกคน ได้สัมผัสประสบ การณ์ ์กับกีฬาแนวใหม่ด้วยตนเอง จะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงและยังเป็น แรงขับ เคลื่อนที่สำคัญ ให้เด็กไทยได้ก้าวไปอย่างแข็งแกร่ง กลุ่มบริษัท ฮอนด้า ในประเทศไทย จึงพร้อมร่วมสนับสนุน ให้เด็กๆทุกคน ประสบความ สำเร็จในอนาคต
กีฬาวิ่ง 31 ขาสามัคคี เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างมากในโรงเรียนประถมทั่วประเทศญี่ปุ่น จนถึงปัจจุบันนี้เป็นปีที่ 11แล้ว โดยเยาวชนญี่ปุ่นจะรวมตัวกันฝึกซ้อมอย่างมุ่งมั่นเพื่อเตรียมตัวในการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม ของทุกปี
ฮอนด้า วิ่ง 31 ขา สามัคคี คือ กีฬา ที่มีจุดเริ่มต้นจาก กีฬาวิ่ง 2 คน 3 ขา ซึ่งเป็นกีฬาพื้นฐานของคนทั่วโลก ที่ต้องอาศัยความสามัคคี ร่วมใจของคน 2 คน ในการวิ่งสู่เส้นชัย พัฒนามาสู่ กีฬา วิ่ง 31 ขา ที่ต้องอาศัยพลังแห่งความสามัคคี ความมุ่งมั่น และการรวมใจของคน 30 คน เป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อวิ่งไปสู่จุดหมาย ซึ่งจะเป็นการปลูกฝังหัวใจแห่งความสามัคคี มีน้ำใจเป็นนักกีฬาให้กับเยาวชน ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท ทีวี อาซาฮี ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์กีฬานี้ ซึ่งในปัจจุบันเจ้าของสถิติโลกเป็นของทีมโรงเรียนประถมศึกษาอิชิอิ ฮิงาชิ ด้วยสถิติ 8.80 วินาที ยังคงได้รับการบันทึกอยู่ใน Guinness Book The World of Record และท้าทายการทำลายสถิติจากทีมนักเรียนประถมศึกษาญี่ปุ่นทั่วประเทศ สำหรับการจัดการแข่งขันในประเทศไทย กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุนหลักในการจัดการแข่งขัน โดยในปีแรกฮอนด้าได้เริ่มการจัดการแข่งขัน โดยเปิดโอกาสให้ นักเรียน ชั้น ป.5 และ ป.6 อายุระหว่าง 10-12 ปี ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเดียวกัน ซึ่งเป็นโรงเรียนเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เข้าร่วมการแข่งขัน โดยเด็กไทยจาก โรงเรียนวัดป้อมวิเชียรโชติการาม สามารถทำสถิติความเร็วสูงสุดด้วยเวลาเพียง 9.64 วินาที และภายหลังจากที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักเรียน อาจารย์ และโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ฮอนด้าจึงได้ขยายการดำเนินโครงการในปีที่ 2 ปี พ.ศ. 2549 เป็นระดับประเทศ เพื่อเปิดโอกาส ให้โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศได้เข้าร่วมแข่งขัน โดยทีมจากโรงเรียน ยอแซฟอุปถัมภ์ จ. นครปฐม ทำสถิติได้เป็นอันดับ 1 คือ 9.32 วินาที
จากความสำเร็จของการจัดกิจกรรมทั้ง 2 ปีที่ผ่านมานั้น ในปี พ.ศ. 2550 นี้ กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย จึงยังคงมุ่งมั่นที่จะสานต่อกิจกรรมนี้ใน ประเทศไทยต่อไป แต่ไม่ใช่เพราะความมุ่งหวังในความสำเร็จของกิจกรรม อันนำมาซึ่งชื่อเสียง แต่เพื่อให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสในการสัมผัสกีฬาชนิด นี้เพิ่มขึ้นในวงกว้าง และเพื่อเผยแพร่ให้กิจกรรมนี้ได้เป็นที่นิยมและเล่นกัน อย่างแพร่หลายอย่างแท้จริง

๒๐ กันยายน ๒๕๕๐

รับสมัครนักกีฬาวิ่ง 31 ขา รร.ทบอ.บูรณวิทยา ปี 2550

นักเรียนชายระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ที่สนใจสมัครวิ่ง 31 ขา ทีม รร.ทบอ.บูรณวิทยารีบสมัครที่ ครูวิชัย และครูรัชนี ด่วน

๑๘ กันยายน ๒๕๕๐

โรคตาแดง


โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักพบผู้ติดเชื้อไวรัสตาแดงในฤดูฝน ระยะเวลาของโรคจะเป็นประมาณ 7-14 วัน ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนอย่างอื่น การอักเสบเกิดขึ้นกับเยื่อบุตาที่คลุมหนังตาบนและล่าง รวมทั้งเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงจากเชื้อไวรัสมักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน เชื้อที่เป็นสาเหตุสำคัญได้แก่ adenovirus มักจะระบาดในชุมชน โรงเรียน และที่ทำงาน การติดต่อมักจะติดต่อโดยการสัมผัสทางมือ เครื่องมือ สระว่ายน้ำ
สาเหตุ
โรคตาแดงเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุตา จากการติดเชื้อไวรัส adenovirus, enterovirus และ coxsackie virus A24 ส่วนใหญ่จะติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสน้ำตาของผู้ป่วยที่ติดมากับนิ้วมือ และแพร่จากนิ้วมือมาติดที่ตาโดยตรง ไม่ติดต่อจากการสบตา จ้องตา ไม่ติดต่อทางอากาศ หรือการรับประทานอาหารร่วมกัน อาการเกิดได้ภายใน 1-2 วัน ระยะการติดต่อไปยังผู้อื่นประมาณ 14 วัน

อาการ
ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัส จะมีอาการตาแดง เคืองตา น้ำตาไหล เจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย จากการติดเชื้อแบคทีเรียมาพร้อมกัน ต่อมน้ำเหลืองหลังหูมักเจ็บ และบวม มักเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งก่อน แล้วจะติดต่อมายังตาอีกข้างได้ ถ้าไม่ระวังให้ดี ถ้าระมัดระวังไม่ให้น้ำตามข้างที่ติดเชื้อไว้รัส มาถูกตาข้างที่ดี จะไม่เป็นตาแดง แต่ส่วนใหญ่มักเป็นไปอีกข้างอย่างรวดเร็ว
โรคแทรกซ้อน
ในรายที่เกิดโรคแทรกซ้อนจะมีอาการเคืองตามาก ลืมตาไม่ค่อยได้ มักมีอาการกระจกตาอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งจะดีขึ้นได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ หรือบางรายที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นนาน 1-2 เดือน ทำให้ตามัวพร่าอยู่เป็นเวลานาน
การรักษา
1 รักษาตามลักษณะอาการของโรค เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง
2 ถ้ามีขี้ตามาก อาจพิจารณาหยอดยาปฏิชีวนะ ถ้ามีไข้ เจ็บคอ พิจารณาใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วยกับยาลดไข้ ยาลดปวด
3 พักผ่อนให้มากๆ โดยเฉพาะการใช้สายตาในช่วงที่มีอาการตาแดงอย่างรุนแรง
4ไม่ควรทำงานดึก ควรนอนให้เพียงพอ
5ไม่จำเป็นต้องปิดตาไว้ตลอด ยกเว้นมีกระจกตาอักเสบ เคืองตามาก จึงปิดตาเป็นครั้งคราว
6ไม่ควรให้เชื้อไวรัสแพร่กระจาย
7 ทุกครั้งที่จับตาควรล้างมือให้สะอาด
8 ควรงดการใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน
9 ผู้ป่วยไม่ควรลงเล่นน้ำในสระ จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสไปในน้ำได้
10สำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วย ควรระวังอย่าเอามือไปจับ หรือขยี้ตา ควรล้างมือ ฟอกสบู่บ่อยๆ อย่านอนห้องเดียวกับผู้ป่วย การทานอาหารร่วมกันไม่ทำให้ติดโรค

คุณสมบัติของทีมวิ่ง31ขา


คุณสมบัติของทีม
1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หรือ 6 โรงเรียนประถมศึกษาทั่วประเทศไทย อายุระหว่าง 10-12 ปี ในโรงเรียนเดียวกัน
2 ผู้เล่น 1 ทีมประกอบไปด้วยผู้เข้าแข่งขันตัวจริง 30 คน และ ผู้แข่งสำรองจำนวน 5 คน
3 กำหนดให้แต่ละทีมส่งรายชื่อผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอนทีมละ 1 คน

วัตถุประสงค์ของกีฬา วิ่ง31ขา


1. ส่งเสริมและสร้างโอกาสในการเรียนรู้จากการร่วมกิจกรรม อันได้แก่
• การแสดงถึงความกล้าความท้าทาย
• การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
• และความมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ
2. เพื่อส่งเสริมความรักและสามัคคีของกลุ่ม เพื่อที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
3. สร้างเสริมจิตใต้สำนึกในการเรียนรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองและของกลุ่ม
4. เพื่อส่งเสริมความมีวินัย และความมีน้ำใจนักกีฬา และมีพลานามัยที่ดี
5. มุ่งให้เด็กเยาวชนให้เวลาว่างเพื่อการออกกำลังกาย และต้านการใช้สารเสพติด

๑๗ กันยายน ๒๕๕๐

พิธีต้อนรับนักกีฬา










เมื่อวันที่ 3 ก.ย.50 โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ บูรณวิทยา ค่ายบุรฉัตรได้จัดพิธีต้อนรับนักกีฬาของโรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษาจังหวัดราชบุรี ประจำปี 2550 ซึ่งโรงเรียนของเราส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันได้แก่ กรีฑา ฟุตบอล ตะกร้อ ว่ายน้ำ เปตอง และนักกีฬาของเราได้สร้างชื่อเสียงด้วยการคว้ารางวัลมาทั้งหมด 6 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน โดยเฉพาะกรีฑากวาดเหรียญทองมาทั้งหมด ส่วนเหรียญเงินได้แก่ว่ายน้ำ ขอแสดงความยินดีกับนักกีฬา และผู้ฝึกสอนทุกท่านด้วยนะคะ ขอให้ทุกคนขยันฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาฝีมือของตนเองให้เก่งขึ้น เพื่อที่จะเป็นตัวแทนของโรงเรียน และของชาติต่อไป ส่วนผู้ที่ยังไม่ได้เหรียญก็อย่าเพิ่งท้อนะคะ ขยันฝึกซ้อมต่อไปสักวัน จะต้องเป็นวันของเรา...บูรณวิทยา ค่ายบุรฉัตร....สู้ๆๆๆ